”ทำไมผมถึงต้องเชียร์ SME เวลาที่พวกเขาอยากจะมาปรึกษาหรืออยากทำธุรกิจ Startup แต่น่าเสียดาย! ที่พวกเขาไม่รู้ว่าตัวเองน่ะ…….มีของ!!!
ใครหลายคนที่เป็น SME มาก่อน!
ใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก!
ใครที่ทำธุรกิจมานานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป!
วันนี้…..ต้องมาเจอกับกระแสของคำว่า “สตาร์ทอัพ (Startup)” ถึงกับต้องหลบไปก่อนและคิดว่าเราไม่น่าจะเกี่ยวมันไม่ใช่เรา..สตาร์ทอัพถูกนิยามไว้สำหรับ คนรุ่นใหม่.. ให้เริ่มต้นธุรกิจทำอะไรใหม่ๆ คงไม่ใช่เวทีหรืองานของ SME…………..
ผมจะบอกว่า “คิดผิดครับ!” เพราะถ้าคุณเป็น SME มาก่อน! คุณจะมีจุดแข็งอย่างน้อยก็ 1 ใน 5 ข้อที่ผมจะยกมาบอกกับเหล่าชาว SME ทุกคนว่า…”
คุณนั่นแหล่ะ! ที่สามารถเริ่มต้นได้ไกลกว่าและเร็วกว่า..คนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยทำธุรกิจ! มาก่อนเสียอีก!…. ทำไมเหรอครับ? เพราะคุณจะมีจุดแข็งหรือจุดที่ได้เปรียบคนอื่นแบบที่คนอื่นไม่มี(หรือไม่แฟร์กับคนอื่น—-> แต่เป็นสิ่งที่ดีและทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งน่ะครับ!)
1. คุณมักจะมีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว!(Own customer) ที่เขาเคยใช้สินค้าและบริการของคุณอยู่ ซึ่งแตกต่างจากการเริ่มต้นในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่เราต้องทดสอบตลาดไปจนกว่าจะเจอลูกค้าคนแรกที่พร้อมที่จะยอมจ่ายตังค์ให้เรา? หรือต้องปรับรูปแบบธุรกิจจนกว่ารูปแบบธุรกิจโมเดลของเราตอบโจทย์กับลูกค้า(Product market fit) ให้ได้!
2. คุณมักจะมีประสบการณ์ในวงการธุรกิจของคุณอย่างน้อย 5 ถึง 10 ปี และยิ่งคุณอยู่ในวงการนี้มาก่อน นั่นหมายถึงคุณยิ่งมีสายป่าน Connection ที่มากกว่าเหล่าสตาร์ทอัพน้องใหม่อยู่หลายช่วงตัว! …
3. คุณจะระมัดระวังการใช้จ่ายเงินของคุณมากกกกก!! ชนิดที่ อะไรไม่คุ้มทุ้นก็จะไม่กล้าทำ…แตกต่างจากเหล่าสตาร์ทอัพ …”ที่มี 100 หมด 100 มีล้าน หมดล้าน เทหมดหน้าตัก เพราะเป็นเงินจากผู้ร่วมลงทุนที่กล้ามาเสี่ยงกับพวกเขา..ดังนั้น โอกาสที่เหล่า CEO ผู้กล้ารับความเสี่ยงทั้งหลายจึงยอมเทหมดใจยังไม่ต้องสนใจเรื่องจุดคุ้มทุน(Break even point) ขอให้เอาจำนวน User เขามาให้ได้ก่อน ขาดทุนชั่งมัน! คำถามผมก็คือ… ชาว SME ส่วนใหญ่ก็เลยระมัดระวังเงินทุกบาททุกสตางค์มากกว่าเหล่าชาวสตาร์ทอัพ! นั่นเอง…ซึ่งผมมองว่ามันดีน่ะครับ
4. คุณมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน! ขณะที่เหล่าสตาร์ทอัพน้องใหม่จะเอาอะไรมาเป็นหลักทรัพค้ำประกัน ล่ะครับ! ยกเว้นแผน Business Model 10 กว่าหน้าและประเมินมูลค่าบริษัท(Valuation) ไว้ทะลุ 100-200 ล้าน.!! ในอีก 5 ปีข้างหน้า! “โอ้แม่เจ้า พระเจ้าจอร์จ! นายแน่มาก!!
ตั้งแต่ผมจำความได้ คำว่า “สินเชื่อ SME” ปัจจุบันนี้ยังคงมีอยู่ แต่ผมยังไม่เคยได้ยิน “สินเชื่อ Startup” มีแต่เหล่าสตาร์ทอัพ ตัองใช้ Pitch desk ไป Raise Fund เองครับ! จะกี่ 10 กี่ร้อยเวทีก็ตามที่กว่าจะเจอ นักลงทุน ที่เห็นดีเห็นงามกับธุรกิจของเราและยอมให้เงินเรามาลงทุน! เพื่อแลกกับหุ้นของบริษัทหรือ Board seat 1 ที่นั่งของบริษัทเราไป! …นี่คือ วิถีของเหล่าชาวสตาร์อัพ!
5. เจ้าของธุรกิจ SME ส่วนใหญ่จะผูกอำนาจการตัดสินใจและคำสั่งอยู่ที่เจ้าของบริษัทคนเดียว! (จริงและอาจไม่จริง? ลองทบทวนกันอีกรอบน่ะครับ!) แต่การเป็นหัวเรือใหญ่ จำเป็นต้องมีแม่ทัพที่ดีครับ(CEO) ที่ต้อง Lead นำบริษัทให้เกิดผลลัพธ์ อย่างที่เราต้องการให้เร็วที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ประนีประนอมกัน และสามารถนำเอา Stye การบริหารงานแบบนี้มาผลักดันการทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพให้ทำงานได้เร็วกว่า CEO แบบประนีประนอมครับ!
“เพราะอะไรก็ได้? อาจไม่เหมาะกับการทำงานแนวสตาร์ทอัพสักเท่าไหร่ครับ! เพราะสุดท้ายมันต้องทำให้ได้เพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้จริงๆ ครับ!
ดังนั้น ทั้ง 5 ข้อนี้จึงทำให้คนที่เป็น SME สามารถปรับรูปแบบ Model ธุรกิจจากแนวเติบโตแบบ SME มาเติบโตแบบ Startup ดูบ้าง!ได้ครับ! และเริ่มได้ทันทีครับ! ไม่ต้องรอเงินทุนมาก(เริ่มจากเล็กๆ ทำทีละส่วน!)
…… ไม่ต้องรอประกวด Pitch แต่เอาเวลาไปจับมือกับนักพัฒนาโปรแกรมรุ่นใหม่ ร่วมมือทำงานกันเป็นทีมแบบนี้จะสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพได้เร็วขึ้นเป็น 10 เท่าครับ!
… ยังไม่ต้องเชื่อบทความนี้ของผมทั้งหมดจนกว่า “คุณได้นำแนวคิดเหล่านี้ทั้ง 5 ข้อไปปรับใช้ในธุรกิจ SME ของคุณดูเองก่อนน่ะครับ!””
ปล.“ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้! ฝากกดไลท์(Like) กดแชร์(Share) กดติดตาม(Follow) และพิมพ์คอมเม็นท์ (Comment) มาคุยกันได้น่ะครับ! อ อ๊ะ ยินดีรับฟังทุกคอมเม็นท์จากใจเพื่อทุกคนครับ!
ด้วยความปรารถนาดีจากใจ
โดย อาจารย์อ๊ะ(AjarnAh)
#ที่หนึ่งในเรื่องของที่ปรึกษาStartupสำหรับSME
แอดไลน์(Line) เพื่อพูดคุยและรับความรู้ธุรกิจฟรี! ได้ที่! ไลน์ไอดี พิมพ์หา @ajarnah
หรือกดที่ลิงค์นี้
(ติดตามช่อง Podcast ของช่อง อ อ๊ะ) กดฟังได้ที่ลิงค์ใน 3 ช่องทางนี้
++อย่าลืมกดติดตามอาจารย์อ๊ะให้ครบทุกช่องทางเพื่อที่ทุกท่านจะได้ไม่พลาดความรู้ทางด้านการทำธุรกิจ Startup ไว้พัฒนาธุรกิจ SME ของตัวเองกันไว้น่ะครับ! “สะดวกช่องทางไหนสามารถทักมาติชมผมได้ทุกช่องทางครับ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น