วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 6) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)


10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 6) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)


        ตอนนี้ผมจะเสนอเป็นเหตุผลลำดับที่ 7 น่ะครับ(แต่ชื่อบทความเป็นตอนที่ 6 น่ะครับ)  สำหรับบทความเรื่อง "10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup" ซึ่งมันอาจจะหาอ่านจากตำราทั้งไทยและต่างประเทศลำบากหน่อยน่ะครับเพราะส่วนใหญ่ผมเขียนมาจากประสบการณ์จริงบวกกับแนวคิดของการสร้างธุรกิจด้วยแนวคิดแบบ Startup ซึ่งถ้าเราอ่านจากตำราอย่างเดียวเราก็จะพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นแนวเทคนิคการทำธุรกิจ Startup ไม่ว่าจะเป็น Lean Startup (อ่านไปก็คิดถึงแนวคิดการผลิตแบบลีนของโตโยต้า คล้ายๆ เหล้าใหม่ในขวดเก่า) ลองหาอ่านกันดูน่ะครับ เป็นหนังสืออีกเล่มที่  Eric Ries เขียนออกมาได้ดีอีกเล่มหนึ่งแต่ผมก็ไม่ค่อยได้อ้างอิงจากตำราเท่าไหร่น่ะครับ "เพราะผมว่าคนไทยต้องการที่จะสื่อสารตรงและนำไปคิดหรือนำไปปรับใช้จะมีประโยชน์มากกว่าแค่อ่านจากตำราอย่างเดียวครับ!" มาต่อกันครับ กับภาคจบของบทความนี้ที่เหลืออีก 4 เหตุผลที่เพื่อนๆ ลองไปปรับใช้กันดูน่ะครับ     


เหตุผลที่ 7:  คนรุ่นใหม่(และที่เพิ่งจบใหม่) ต้องการสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองมากขึ้น(ไม่อยากทำงานประจำ) 


เหตุผลสนับสนุน:   คนรุ่นใหม่ต้องการเป็นนายตัวเองหรืออาจกล่าวได้ว่านักศึกษาจบใหม่ที่มีหัวเทคโนโลยีหน่อยก็อยากที่จะสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองไม่รวมนักศึกษาบางคนที่สามารถหารายได้ตั้งแต่ตอนที่เป็นนักศึกษาอยู่แล้วดังนั้นการที่คนรุ่นใหม่ต้องการที่จะเป็นผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่สูงขึ้นและหนึ่งในแนวคิดการสร้างธุรกิจก็คือ "การสร้างธุรกิจแบบ Startup" นั่นเอง! ที่แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีบรรจุไว้ในหลักสูตรผู้ประกอบการแต่ผู้ประกอบการหลายคนก็ยังสับสนระหว่างคำว่า "SME" กับ "Startup" หลายคนก็ยังงงๆ ว่า 2 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร? และตกลงผมเป็นอะไรกันแน่แล้วผมจะไปต่อได้อย่างไร?


ความจริง: คนรุ่นใหม่ต้องการเป็นนายตัวเองต้องแยกให้ออกก่อนน่ะครับว่าเส้นทางที่เราเลือกจะมุ่งไปสู่การเติบโตแบบ SME หรือ Startup กันแน่จะได้ไม่หลงทิศทางหรือจะใช้วิธีลูกผสมก็ไม่ผิดกฎแต่อย่างไรน่ะครับ?  "อย่าหลงเข้าใจผิดว่าเราจะต้องเป็น Startup ไปตลอดชีวิต หรือเราจะเป็น SME ที่ไม่เหลียวมามองเทคนิคของ Startup เพื่อการเร่งการเติบโตบ้างเลย" แนวคิดนี้ผมอยากให้ทุกท่านนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตัวเองน่ะครับ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือช่วงการดำเนินธุรกิจมากี่ปีแล้วก็ตามจะ 1 ปีถึงหลายสิบปี การผสมผสานแนวคิดของธุรกิจยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นครับ

แนวคิดของ SME
1. เน้นการสร้างสินทรัพย์เป็นของตัวเองที่จับต้องได้
2. เน้นการสร้างกำไรในปีแรกๆ
3. เน้นการบริหารจัดการคนหมู่มาก
4. เน้นการเติบโตที่ต้องเพิ่มทรัพยากรหรือเพิ่มสินทรัพย์
5. เน้นผูกขาดอำนาจการตัดสินใจแบบเจ้าของคนเดียว
6. เน้นลงทุนในเทคโนโลยีให้น้อยที่สุดและเน้นการลงทุนในทรัพย์สินหรือสินค้าคงคลัง
7. เน้นการบริหารงบการเงินแบบไม่ให้ขาดทุนเป็นพอ
8. เน้นแหล่งเงินทุนจากเจ้าของเพียงแหล่งเดียว

แนวคิดของ Startup
1. เน้นการสร้างสินทรัพย์ที่เป็น ดิจิตอล(Digital) แทบจับต้องไม่ได้
2. ยอมที่จะขาดทุนในปีแรกๆ ของการเริ่มต้นธุรกิจ
3. ไม่เน้นการบริหารคนหมู่มากกล่าวคือ ทีมงานมีเพียง 1-3 คนตอนเริ่มต้นธุรกิจ
4. เน้นการเติบโตที่ก้าวกระโดดซึ่งมาจากจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
5. เน้นการแบ่งการบริหารจาก CEO, CTO, CFO ให้แยกจากกันเน้นการประสานจุดแข็ง(ไม่มีคนเก่งที่รอบรู้ทุกเรื่องในตัวคนเดียว)
6. เน้นลงทุนในเทคโนโลยีให้มากที่สุดและไม่เน้นการลงทุนในทรัพย์สินหรือสินค้าคงคลัง
7. เน้นการบริหารงบการเงินแบบให้เติบโตเป็นจำนวนเท่า X เท่าหรือเน้นการระดมทุนเพื่อการขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศจนถึงการ Exit หรือการขายกิจการหรือควบรวมกิจการเพื่อการเติบโตอย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะเปลี่ยนถ่ายความเป็นเจ้าของ(Owner) ได้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงการสืบทอดกิจการเหมือนแนวคิดของ SME หรือแนวคิดของเถ้าแก่
8. เน้นการหาแหล่งเงินทุนเพื่อการเติบโตของกิจการหรือธุรกิจ Startup

          ดังนั้นคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นนายตัวเองจำต้องระบุแนวคิดของตัวเองให้ชัดเจนก่อนการเริ่มต้นน่ะครับ จะได้ไม่สับสนกับตัวเองว่าเราจะเป็นอะไรกันแน่?  แต่ที่แน่ๆ ไม่ว่าเราจะยึดแนวคิดไหนเราต่างก็เป็นผู้ประกอบการกันทั้งนั้น  ดังนั้น "จงอย่ายึดติดกับมันครับเพราะทุกแนวคิดอาจผสมผสานกันได้ในสถานการณ์หนึ่งๆ และจำต้องแยกจากกันในอีกสถานการณ์หนึ่ง"  ดังนั้นเราจึงต้องเป็น "ผู้นำที่ไม่ยึดติด หากแต่แนวคิดนั้นสามารถนำพาองค์กรนำพาธุรกิจของเราให้รอดไปได้ครับ" และที่สำคัญคนรุ่นใหม่ยิ่งจำเป็นต้องมีคนที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม Startup ด้วยน่ะครับ!  ลองนึกภาพดูว่า สมมติว่าทีมเรามีแต่คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ Run ธุรกิจมาเลย กับอีกทีมของ Startup ที่มีผู้มีประสบการณ์เข้ามาร่วมด้วย (ส่วนใหญ่ก็มาจากแวดวง SME เดิมทั้งนั้น) แบบไหนจะมีโอกาศที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมากกว่ากัน อันนี้ Common sense เลยครับ ไม่ต้องคิดมากแต่ให้คิดถึงหลักความเป็นจริงของธุรกิจครับ!

"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!



ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม โดย อาจารย์อ๊ะ-ที่ปรึกษา Startup สำหรับ SME

  ✅ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม 😊ธุรกิจขายตรง (Direct Selling) ยังคงเป็นหนึ่งในโมเดลธ...