เหตุผลที่ 8: อยากทำสตาร์ทอัพที่มีแนวคิดที่แปลกไม่มีใครทำเราอยากเป็นรายแรกๆ ที่บุกเบิกมัน!
เหตุผลสนับสนุน: ทุกครั้งที่เราจะเริ่มต้นหาไอเดียทำธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) กันเรามักจะถูกครอบงำไอเดียหรือแนวความคิดของเราว่า "มันต้องใหม่มันต้องไม่มีใครทำมาก่อน" เราจะเป็นรุ่นแรกที่บุกเบิกเราจะเป็นคนแรกหรือที่ภาษาสตาร์ทอัพชอบแซวกันว่า เราทุกคนย่อมมี Moment "ยูเรก้า" 555 มันช่างเป็นช่วงที่เลือดสูบฉีดได้ดีมากหรือสารแห่งความสุขที่เรียกว่า "เอ็นโดฟิน(Endophins)" จะออกมามากที่สุดในตอนที่เราคิดไอเดียอะไรออก ณ เวลานั้นเลยทีเดียว!
ความจริง: ไอเดียสตาร์ทอัพ "ไม่จำเป็นต้องแปลกใหม่เสมอไปครับ!" ดังที่ผมได้เกริ่นไว้แล้วในตอนต้นในตอนที่ 1 ว่า เหตุผลที่ 1: มันเริ่มต้นได้ง่ายเพราะมันเริ่มต้นจากไอเดียที่แก้ปัญหาให้กับผู้คน แต่ก็ยังมีผู้คนอีกมากที่ทำสตาร์ทอัพทำไปทำมาแทนที่จะแก้ปัญหาให้กับผู้คนกลับเป็น "การแก้ปัญหาให้กับตัวเองไปซะงั้น" อันนี้เรื่องจริงครับเพราะเรามักจะเอาตัวเองเป็นที่ตั้งซึ่งบางครั้งผมก็เป็นและไม่ได้เป็นครั้งเดียวด้วยครับต้องยอบรับว่าส่วนใหญ่ "เราจะมีความคิดที่เข้าข้างตัวเองเป็นซะส่วนใหญ่" ดังนั้น เราต้องฝึกการทดลองภาคปฎิบัติของวิธีของแนวคิดของ Startup ดังนี้ (อันนี้ภาคบังคับน่ะครับ ลองไปทำกันดูน่ะครับ!)
1. หาลูกค้ากลุ่มที่ตรงเป้าหมายแล้วให้สินค้าหรือบริการของเราไปลองใช้ดูจนครบ 1,000 คน(ตามทฤษฎี) ใจเย็นๆและไม่ต้องตกใจครับเพราะในชีวิตจริง ถ้าเรามีลูกค้าที่สามารถทดลองการใช้ผลิตภันฑ์ของเรา 5-10 คนก็หรูแล้วครับ แล้วรีบประเมิน Feedback การใช้งานของลูกค้าให้เร็วที่สุดเพื่อนำไปสู่ข้อที่ 2 (ขั้นตอนนี้เรียกว่าการสร้าง (Build) การวัดผล (Measure) และการเรียนรู้(Learn) กล่าวคือ เป็นวงจรของ Lean Startup นั่นแหล่ะครับ! เพื่อไม่ให้เรา Burn ทรัพยากรไปมากกว่านี้ในขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์ขั้นต้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กล่าวคือ "ถ้าเรามีลูกค้าจริงเพียงแค่รายเดียวที่พึ่งพอใจกับสินค้ากับบริการของเราย่อมดีกว่าการที่เรามีลูกค้ามากมายมหาศาลเป็นสิบเป็นร้อยเป็นพันคนในฐานข้อมูลเราแต่เรากลับพบว่า...ไม่มีใครที่เป็นลูกค้าจริงของเราเลยหรือแปลความได้ว่า "ไม่มีใครต้องการสินค้าหรือบริการของเราเลย" ทั้งๆ ที่เราพยายามบอกว่าของๆ เรามันดีมันเหนือกว่าคนอื่น จริงหรือไม่จริง? ลองทบทวนกันดูในประโยคที่ผมได้เขียนไปเมื่อสักครู่น่ะครับ..ซึ่งผมมั่นใจว่าในชีวิตจริงไม่มีใครกล้าบอกกับทุกท่านแบบนี้หรอกครับ พอรู้ตัวอีกทีลูกค้าของเราก็หายไปกับสินค้าหรือบริการของคนอื่นเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ!!!
2. รีบสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ตอบสนองความต้องการขึ้นต้นของลูกค้าของเราให้ได้ก่อนและเร็วที่สุดโดยภาษาสตาร์ทอัพจะเรียกมันว่า (MVP, Minimum Viable Product) แล้วนำไปทดสอบกับลูกค้าของเราให้เร็วที่สุดแล้วให้ลูกค้าช่วย Comment ร่วมกับเราให้ดูเหมือนว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนี้ลูกค้าได้มีการออกแบบร่วมกับเราตั้งแต่ต้นจนจบ คำถามต่อไปว่า "การมีส่วนร่วมของลูกค้าจะส่งผลอย่างไร? กับผลิตภัณฑ์สุดท้ายของเรา" คำตอบคือ "สุดท้าย ลูกค้าก็ต้องพึงพอใจกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราสิครับเพราะลูกค้าได้มีส่วนร่วมตลอด ผิดกับวิธีการดั้งเดิมที่เรามักจะยัดเยียดผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับลูกค้าโดยเราก็มักจะเน้นที่ความแปลกความสดใหม่ที่เพียบพร้อมครบทุกฟังก์ชั่นการให้บริการเป็นสิบเป็นร้อยฟังก์ชั่น แต่ทุกท่านทราบไหมครับว่า แค่ผลิตผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ตอบสนองการใช้งานของลูกค้าเพียง 1-2 ฟังก์ชั่นที่ใช้งานหลักได้อย่างดีและตรงกับความต้องการของลูกค้านั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าที่เราผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการมากมายหลายฟังก์ชั่นแต่สุดท้ายลูกค้าก็ใช้เพียง 1-2 ฟังก์ชั่นพื้นฐาน คำถามต่อไปคือ "แล้วเราจะเสียเวลาผลิตผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ Over Spec ไปทำไมในตอนแรกซึ่งลูกค้าอาจจะไม่ได้ต้องการมันเลยก็ได้ครับ!" และนี่คือแนวคิดของธุรกิจแบบ Startup ที่แตกต่างจาก SME อย่างสิ้นเชิง ซึ่งถ้าให้ผมเปรียบเทียบกับอาหารมันก็คือ
Startup = "อาหารตามสั่ง" จะสั่งผิดสั่งถูกอย่างไรผู้สั่งก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมดตั้งแต่รับประทานยันจ่ายเงิน+
SME = "ข้าวราดแกง 19 อย่าง" ผู้สั่งไม่ได้สั่งให้ทำข้าวแกง 19 อย่างและไม่สามารถกินพร้อมกันได้ทั้ง 19 อย่างในเวลาเดียวกัน แต่แม่ค้าก็จำเป็นต้องทำข้าวแกงถึง 19 อย่างทุกๆ วัน โดยไม่ได้คำนึงว่า แกงไหนที่ลูกค้าชอบกินหรือแกงไหนลูกค้าไม่ชอบกินแต่สิ่งที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันก็คือ "การที่เราต้องมีวัตถุดิบที่เราจะต้องจัดเตรียมมันให้ครบเพื่อทำข้าวแกง 19 อย่างในแต่ล่ะวัน" ซึ่งคำถามต่อไปก็คือ "ถ้าคุณเป็น Startup คุณจะใช้วิธีการนี้หรือไม่? (More function less usage)
ดังนั้น เหตุผลที่ 8: ที่ว่า อยากทำสตาร์ทอัพที่มีแนวคิดที่แปลกไม่มีใครทำเราอยากเป็นรายแรกๆ ที่บุกเบิกมัน! อาจเป็นความคิดแค่แว่บเเรกของการมีไอเดีย แต่อย่าลืมใน เหตุผลที่ 1: สตาร์ทอัพมันเริ่มต้นได้ง่ายเพราะมันเริ่มต้นจากไอเดียที่แก้ปัญหาให้กับผู้คน ซึ่งไอเดียไม่จำเป็นต้องแปลกต้องใหม่เสมอไปน่ะครับ! เพราะไม่งั้นเราก็คงไม่ได้เห็น Facebook, Line, Uber, Alibaba, QueQ, Grab taxi, ทั้งที่มีผู้อื่นให้บริการผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบเดียวกันอยู่แล้วก่อนหน้า และ Startup ที่เป็น Product ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากผลิตภัณฑ์ก่อนหน้าทั้งสิ้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "โลกนี้ไม่ได้มีอะไรที่ใหม่หรอกครับ มีแต่ไอเดียที่พัฒนาต่อยอดมาจากไอเดียเดิมทั้งสิ้นแล้วเราก็เอาไอเดียนั้นไปลองเติมเต็มให้กับลูกค้าของเราว่าเขาชอบหรือไม่? ถ้าชอบไอเดียนั้นก็เกิด ถ้าไม่ชอบไอเดียนั้นก็ดับครับ! ที่สำคัญอย่ามโนไปเองครับว่าลูกค้าจะชอบไอเดียของเรา หากเราไม่เคยได้ไปทดสอบไอเดียนั้นกับว่าที่ลูกค้าของเราเลย! จงทำตัวเราให้เป็น "ร้านอาหารตามสั่ง" เวลาที่เราทำธุรกิจ Startup ครับ...เพราะลูกค้าคือ ผู้ที่จ่ายเงินให้กับเราด้วยความสมัครใจนั่นเองและไม่มีใครบังคับให้ลูกค้าของเราให้รับประทานอาหารที่เขาไม่ได้ชอบหรือเขาไม่ต้องการได้ครับ!!
"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"
See you again!
***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ
1. เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)
2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ
2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup
3. ยูทูป(YouTube)
4.อินสตาแกรม(Instagram)
5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มี@ ด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!
ปล. ถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ!
ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย)
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น