วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 8) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 8) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

เผลอแป๊บเดียวก็ถึงเหตุผลที่ 9 และเหตุผลที่ 10  กันแล้วน่ะครับ และสำหรับท่านใดที่เพิ่งอ่านเจอบทความของผมบทความนี้ก็สามารถลองย้อนกลับไปอ่านเหตุผลลำดับที่ 1-8 กันได้น่ะครับ รับรองว่าผมได้ตีแผ่ความจริง "แบบไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน" ใครจะยอมมานั่งเขียนบทความแบบนี้ละครับ ถ้าไม่เจอกับตัวเอง คงเล่าได้ลำบาก ครั้นจะไปแปลมาจากตำราต่างประเทศให้คนอ่าน คนอ่านก็ย่อมเบื่อแน่นอน เพราะบางเนื้อหามันก็วิชาการเกิ่น บางตำราก็ประยุกต์จากกรณีศึกษาจากต่างประเทศล้วนๆ พอมาเมืองไทยก็แอบมึนๆ งงๆ ว่าเราจะตามใครดี?  นั่งทะเลาะกับตัวเองไม่จบ แถมไปทะเลาะกับทีมงานของตัวเองอีก สุดท้าย "เลิกทำสตาร์ทอัพตัวนี้ดีกว่า ไปทำสตาร์ทอัพตัวอื่นกันเถอะ หรือว่าเรา Passion ยังไม่พอ หรือว่าจะเปลี่ยนใจเป็นนักลงทุนในสตาร์ทอัพดี(Venture Capital)  เพราะลงทุนในหุ้นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 10-20% ไปกลับต่อปี นานๆ จะเจอหุ้น 5 เด้งสักทีหรือหุ้นต่ำบาทก็ว่ากันไป แต่ถ้าลงทุนในสตาร์ทอัพ 10 บริษัท  ถ้ามันเจ๊งถึง 7 บริษัท แต่มีอยู่ 3 บริษัทที่รอดและมีเพียง 1 บริษัทที่สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด 10-20 เท่า ทำให้สามารถ Cover ผลประกอบการของบริษัทที่เจ๊งได้.....แบบนี้ก็น่าเสี่ยงตามสไตล์นักลงทุน จริงหรือไม่จริง?

ความคิดแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ "ถ้าเราทำสตาร์ทอัพมาสักพักใหญ่ ไม่ใช่พักผ่อนน่ะครับ 555" มาว่ากันต่อกับเหตุผลที่ 9 กันว่าจะโดนใจผู้อ่านที่เป็นสตาร์ทอัพมือใหม่ป้ายแดงหรือมือเก่าป้ายดำกันหรือเปล่า?

เหตุผลที่ 9:  ผมอยากทำสตาร์ทอัพที่ต่อยอดจากสิ่งที่ผมชำนาญ! 





เหตุผลสนับสนุน:   เป็นเรื่องปกติครับที่ผู้ก่อตั้ง(Founder หรือ Co-Founder) ของสตาร์อัพ(Startup) มักจะหยิบจับธุรกิจอะไรจากสิ่งที่พวกเขาหรือพวกเราคุ้นเคยเพราะรู้สึกว่ามันอุ่นใจมากกว่าทำในสิ่งที่เราไม่รู้ไม่คุ้นเคย ใครถนัดสตาร์ทอัพสายไหนก็จะวิ่งตรงไปสายนั้นด้วยความชำนาญ(Expert) เช่น สายการเงินดิจิตอล(Fin Tech) สายเทค(Tech) เน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่, สาย Hardware Startup, สายสุขภาพ(Health Tech)  หรือสายที่เน้นนวัตกรรมสิทธิบัตรหรือความได้เปรียบที่ไม่แฟร์(Unfair Advantage) ที่เอามาเป็นตัวตัดสินว่าจะทำสตาร์ทอัพประเภทไหนอันนี้ก็ไม่ผิดน่ะครับ เพราะถือว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาดนั้นๆ หรือผูกขาดในตลาดนั้นๆ  ทำให้เกิดความได้เปรียบในการทำสตาร์ทอัพของเรา

ความจริง: แต่ความจริงคือ "เราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชำนาญการในสายสตาร์ทอัพนั่นๆ ก็ได้ครับ" ถึงจะเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพนั่นๆ ได้  เพราะอะไรเหรอครับ?  เพราะสตาร์ทอัพนั่น ไม่มีใครเก่งไปซะทุกเรื่องในตัวคนเดียวกันและเป็นเรื่องจริงที่ไม่ว่าเขียนอย่างไรอีกกี่สิบปีก็คือเรื่องจริง เรื่องที่ว่านั่นก็คือ "ทีมสตาร์ทอัพต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 เรียกว่าส่วนบริหารวิสัยทัศน์(Vision) หรือกำหนดทิศทางของธุรกิจดังนั้น ส่วนนี้ต้องเป็นคนที่มีทักษะการบริหารมากกว่าทักษะทางเทคนิคและที่สำคัญต้องสื่อสารให้คนอื่นฟังให้เข้าใจให้ได้สั้นๆ ว่าเรากำลังทำอะไร? ส่วนมากคนนี้จะเป็น Founder ครับ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิคขอเพียงมีวิสัยทัศน์และกำหนดทิศทางให้เป็น

ส่วนที่ 2  เรียกว่าส่วนบริหารทีมงาน(Team Management) ส่วนนี้จะมีหน้าที่ควบคุมบริหารทรัพยากรที่มีให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจ (ส่วนมาก Founder กับ Co-Founder ยังคงเป็นส่วนนี้ถ้ายังไม่ได้เกิดการจ้างงาน)  เช่นควมคุม การขายการทำตลาดหรือการเงิน

ส่วนที่ 3 เรียกว่าส่วนของนักเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะนัก Coding ,โปรแกรมเมอร์, นักพัฒนา Web, หรือ Application (ส่วนมากจะถูกจ้างงานออกไปครับ แรกๆ Founder อาจจะต้องทำ Coding เอง แต่สุดท้ายส่วนที่ 3 จะถูกกระจายการจ้างงานในที่สุดครับ เพราะ ไม่มี Founder คนไหนจะมีเวลามีนักเขียนโปรแกรมเองตลอดและมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งครับ  ถ้านักโปรแกรมเมอร์เป็นผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพยิ่งต้องหาทีมมาเติมเต็มในส่วนงานนี้ให้เร็วที่สุดโดยคำนึงถึงการ Burn Budget ในแต่ละเดือนด้วยน่ะครับ

ดังนั้น เหตุผลที่ว่า "ผมอยากทำสตาร์ทอัพที่ต่อยอดจากสิ่งที่ผมชำนาญ"  ในที่สุดแล้วจะถูกเปลี่ยนไปเป็น  "ผมจะทำสตาร์ทอัพที่ผมเห็นจากวิสัยทัศน์ของผมแล้วว่ามันจะมีความต้องการในตลาดอันมหาศาลจากนี้ไป 2-5 ปี ครับ"  นี่แหล่ะ ถึงเรียกได้ว่า  "ลูกผู้ชายตัวจริงของวงการสตาร์ทอัพไทย ที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก!  ครับ

***เตรียมพบกับภาคจบของบทความนี้ในตอนหน้าน่ะครับ ใครที่ยังไม่ได้กิดติดตามผมใน Blog นี้สามารถกดติดตามได้ที่บนมุมขวาบนน่ะครับ เพื่อที่จะได้อ่านบทความใหม่ๆ ของผมได้ก่อนใคร!

"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!


ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม โดย อาจารย์อ๊ะ-ที่ปรึกษา Startup สำหรับ SME

  ✅ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม 😊ธุรกิจขายตรง (Direct Selling) ยังคงเป็นหนึ่งในโมเดลธ...