วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 1) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

วันนี้ผมจะมาเล่าประสบการณ์ตรงให้ฟังเกี่ยวกับการเริ่มต้นในธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) ที่ยุคนี้และยุคหน้า(ผมขอคาดคะเนไม่เกิน 3 ปีนับจากนี้ ปี พ.ศ. 2562 หรือ ค.ศ. 2019 เป็นต้นไป) ธุรกิจสตาร์ทอัพจะเป็นธุรกิจที่ทั้งเด็กรุ่นใหม่(ทั้งที่เพิ่งจบการศึกษาและที่กำลังศึกษาอยู่) และผู้ที่อยู่ในแวดวง SME Thai และผู้ที่มีอายุ 35-40 ต้นๆ จะหันมาเริ่มต้นการทำธุรกิจแนวนี้กันมากขึ้นกว่าเดิม 100% เรียกได้ว่าเราอาจจะเห็นธุรกิจสตาร์ทอัพเกิดขึ้นเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์หรืออาจจะมีคำแทนใหม่ๆ เช่น 1 ตำบล 1 Startup ก็ เป็นไปได้และในอนาคตเราอาจจะได้ยินคำพูดจากเด็กที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ๆ ที่เมื่อก่อนเราอาจจะชอบถามกันว่า เรียนจบแล้วอยากทำงานอะไร? เด็กรุ่นใหม่ๆ ก็อาจจะตอบว่า "อยากทำธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) ครับ!  โดยที่เราเองก็ยังอาจจะมึนๆ งงๆ ตกลงว่า "ธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) มันคืออะไรกันแน่? แล้วมันเหมาะกับเฉพาะเด็กรุ่นใหม่หรือคนรุ่นใหม่แต่เพียงเท่านั้นเหรอ? (แต่ผมเคยเห็นสตาร์ทอัพที่มาจากประเทศญี่ปุ่นมานำเสนอแนวคิดธุรกิจของเขาให้คนไทยฟัง "ทุกท่านอยากทราบมั้ยครับว่าคนญี่ปุ่นคนนั้นอายุเท่าไร?"   ฟังไม่ผิดครับ อายุ 60 ปี ครับ!!! เล่นเอาผมอึ้งนึกถึงผู้พันเซนเดอร์เจ้าของร้านไก่ทอดแฟรน์ไชน์ชื่อดังระดับโลกที่ชื่อว่า KFC เลย ที่เขาก็เริ่มต้นสร้างธุรกิจของเขาในตอนอายุ 60 ปีเช่นกัน ดังนั้น ผมขอสรุปว่า "เรื่องการเริ่มต้นที่เราจะทำหรือสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นคงไม่เกี่ยวข้องกับ อายุ, ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา(เด็กรุ่นใหม่อาจจะได้เปรียบในเรื่องของเทคโนโลยีบ้าง) แต่ไม่ใช่เสมอไป...เพราะท้ายที่สุดการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ  "เรื่องทีมสำคัญที่สุด" ในความคิดของผมน่ะครับ  เพราะไอเดียที่ไม่ใช่หรือไอเดียที่ไม่ถูกจริตกับตลาดยังพอเปลี่ยนแผนเปลี่ยนแปลงไอเดียกันได้...แต่ถ้าทีมไม่ใช่แล้วทนฝืนอยู่กันต่อไปก็เสียเวลาทั้งหมดครับ จำเป็นต้อง Say Good bye ไม่ช้าก็เร็ว...


   ที่มา: Founders and Founders

            เกริ่นมานานล่ะ ขอเข้าเรื่องให้ตรงกับหัวข้อดีกว่าครับจะได้ไม่เสียเวลา..ท่านผู้อ่านกัน

หัวข้อในวันนี้คือ:   10 เหตุผลที่คนชอบเริ่มทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup กัน

เหตุผลที่ 1:  มันเริ่มต้นได้ง่ายเพราะมันเริ่มต้นจากไอเดียที่แก้ปัญหาให้กับผู้คน 

เหตุผลสนับสนุน:  ถ้าเป็นสมัยก่อนเวลาเราจะเริ่มต้นทำธุรกิจ SME หรือทำธุรกิจก็ต้องตั้งร้านค้าตั้งบริษัทอย่างน้อยเราก็ต้องมีการจัดตั้งบริษัทการจัดทำแผนธุรกิจเล่มหน้าอย่างน้อยก็มากกว่า 50 หน้าทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการคำนวณอัตราผลตอบแทนในการลงทุนทั้ง ROI, ROA, NPV สารพัดจัดมาเต็มสูบเรียกได้ว่า ถ้าแผนทางการเงินไม่ผ่านหรือยังติดลบ  ก็ไม่เกิดธุรกิจแน่นอน ผิดกับแนวคิดของธุรกิจสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นการสร้างแผนธุรกิจเพียงหนึ่งหน้ากระดาษแล้วตอบโจทย์ว่าลูกค้าต้องการหรือไม่? ถ้าไม่ก็เปลี่ยน ถ้าแผนมันตันก็ปรับแถมยังไม่ต้องจัดตั้งบริษัทอะไรก่อนด้วยซ้ำและสามารถเริ่มต้นได้เพียงคนๆ เดียว

ความจริง:  ที่พูดมาทั้งหมดคือ เรื่องจริงครับ แต่มีความจริงอีกข้อหนึ่งที่เป็น สัจธรรมของโลกคือ "อะไรที่มันเกิดขึ้นได้ง่ายมันก็มักจากไปได้ง่ายๆ เช่นกัน" จนมีกูรู(GURU) หลายคนหลายสำนักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพโอกาสรอดเพียงแค่ 1% ฟังดูแล้วโหดร้ายมากและก็ค่อนข้างมีแน้วโน้มในปีที่ 2-3 กัน มองโลกในแง่ดีคือ เป็นโอกาสที่คัดเอาสตาร์ทอัพตัวจริงเข้ามาอยู่ในวงการนั้นเอง ดังนั้นคนที่เป็นผู้ก่อตั้ง(Founder) และผู้ก่อตั้งร่วม(Co-Founder) จะเป็นผู้ที่ร่วมหัวจมหางให้สตาร์ทอัพของเราฝ่าฟันอุปสรรคให้มันผ่านไปในครั้งแล้วครั้งเล่า หลายสตาร์ทอัพก็เริ่มต้นจากไอเดียที่แก้ปัญหาให้กับผู้คนแต่พอทำไปทำมากับเป็นการแก้ปัญหาให้กับตัวเองซึ่งไม่ใช่ลูกค้า คิดเองเออเองจนลืมไปว่าลูกค้าคือผู้ที่จะจ่ายเงินให้เรา ดังนั้น "ถ้าสตาร์ทอัพใดมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทันสมัยแต่กลับไม่มีลูกค้าสนใจที่พร้อมที่จะจ่ายเงินให้กับเราก็เป็นอันว่าต้องพับ Model ธุรกิจนั้นๆ ไป"  หลายสตาร์ทอัพยอมขาดทุนในปีแรกและเท่าทุนในปีที่สองและเรื่มทำกำไรในปีที่ 3 และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปลายปีที่ 3 หรือต้นปีที่ 4 เพราะมีผู้ร่วมให้เงินลงทุนระดับล้านบาทหรือหลายล้านบาทเป็นต้นไปเพียงเพราะเขาเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพนี้ แต่น่าเสียดายที่สตาร์ทอัพส่วนใหญ่อดทนไม่มากพอจึงต้องมีอันเป็นไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว...ถึงตรงนี้คงใช้สุภาษิตไทยมาจับประเด็นนี้ ที่ว่า "ระยะทางพิสูจน์ม้ากาลเวลาพิสูจน์คน" เพียงแต่ม้าในวงการสตาร์ทอัพ(Startup) เราจะเรียกมันว่า  "ม้า Unicorn Startup" นั่นเอง  (หมายเหตุ: Unicorn Startup คือ บริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า $1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือบริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทระดับกว่าสามหมื่นล้านบาทไทยนั้นเอง!  ดังนั้น เรามาเป็นกำลังใจให้พี่ใหญ่สตาร์ทอัพไทยก้าวไกลถึงดวงดาวกันในนามของ  Ookbee, Wongnai and Claim Di และรุ่นน้องที่กำลังก้าวตามกันมาน่ะครับ

เหตุผลที่ 2: สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีอนาคตน่าจะมีคนสนใจใช้แน่เลย

เหตุผลสนับสนุน:   ยุคนี้เลี่ยงไม่ได้อะไรๆ ก็อยู่ในมือถือ ว่าม่ะ? ดังนั้นพวกเราชาวสตาร์ทอัพนึกอะไรไม่ออกก็มาจบที่ทำแอปบนมือถือกันเถอะ....ถ้าถามคนทั่วไปส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยน่ะเพราะทำสตาร์ทอัพกันที่ไรก็มาจบที่ Tech Startup กันทุกที! แต่ถ้าถามคนที่อยู่ในวงการสตาร์ทอัพนานๆ แล้วล่ะก็จะบอกว่าเรื่องการทำแอปบนมือถือนี่อยู่ปลายทางของกระบวนการคิดธุรกิจสตาร์ทอัพน่ะครับ..ไปดูความจริงกัน

ความจริง: การเริ่มต้นแนวคิดของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นอยู่ที่ "ไอเดียรูปแบบธุรกิจที่คาดว่าจะมีการทดสอบลุกค้าว่ามีความต้องการที่จะใช้สินค้าหรือบริการเราจริงๆ"  ยกตัวอย่าง ถ้าวันนี้ใครสร้างแอปสั่งหมูปิ้งบนมือถือให้มาส่ง ในขณะที่เราก็ยังใช้ชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากการกินหมูปิ้งในตอนเช้า แบบนี้การทดสอบไอเดียไม่ผ่านน่ะครับ  ในทางกลับกัน "ถ้าวันนี้ผมโบก Taxi แล้วส่วนใหญ่ Taxi ไม่รับผมหรือไม่ไปส่งผม แต่วันนี้ผมมี แอป GrabTaxi ที่สามารถเรียกใช้ได้ก่อนการเดินทางไม่ต้องปวดหัวมานั่งลุ้นอีกว่า Taxi จะไปส่งผมหรือไม่? ไม่ต้องลุ้นกับกิริยามารยาทของพนักงานขับรถอีก แบบนี้ผมจำเป็นต้องใช้แอปนี้แล้วครับ...ดังนั้นจึงมี Guru  ต่างประเทศเขาเปรียบเปรยว่าให้สร้างแนวคิดของธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นแบบยาแก้ปวดลดไข้ทันทีประมาณว่ากินยาแล้วหายปวดหายไข้ได้ทันที  แต่ถ้าใครสร้างแนวคิดของธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นแบบกินอาหารเสริม "กินก็ได้ไม่กินก็ได้" แบบนี้แนวคิดสตาร์ทอัพแบบนั้นอาจไปไม่ถึงดวงดาวหรือไม่ถึงฝั่งครับ เพราะลูกค้าไม่จำเป็นที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราชีวิตของเขาก็ยังดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ กล่าวคือ "ถ้าไม่ทำให้การดำเนินชีวิตเขาดีขึ้นก็อย่าให้มันมาเป็นภาระกับเขาดีกว่าครับ" ดังนั้นทุกเทคโนโลยีอาจจะไม่ตอบโจทย์ลูกค้าเสมอไปและสตาร์ทอัพที่ดีก็ไม่ควรยึดติดกับเทคโนโลยีแต่ให้ไปยึดติดที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักครับเพราะเราไม่ได้ผลิตสินค้าหรือบริการของเราจากความชอบหรือความถนัดของเราแต่เพียงด้านเดียวโดยที่ไม่เคยออกไปถามความต้องการของลูกค้าของเราเลย...

  ติดตามเหตุผลลำดับต่อไปที่คนชอบเริ่มทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup กัน น่ะครับในตอนที่ 2-4 เดี๋ยวผมจะมาเล่าเรื่องจริงผ่าน Blog ให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามอ่านกันต่อไปไม่แน่มันอาจจะมีสัก 1-2 เหตุผลที่ท่านผู้อ่านกำลังคบคิดกันอยู่ก็เป็นได้...โปรดติดตามตอนต่อไป

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1. เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มี@ ด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!


ปล. ถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม โดย อาจารย์อ๊ะ-ที่ปรึกษา Startup สำหรับ SME

  ✅ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม 😊ธุรกิจขายตรง (Direct Selling) ยังคงเป็นหนึ่งในโมเดลธ...