Growth Mindset เป็นเคล็ดลับที่อยู่เบื้องหลังของคนสตาร์ทอัพ(Startup) ทุกคน โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)
สวัสดี FC ของอาจารย์อ๊ะทุกคนประจำเดือน มิย นี้ น่ะครับ "ช่วงนี้เราจะได้ยินคำว่า Growth Mindset กับ Fixed Mindset" กันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจากทาง โลกออนไลน์หรือ โลก Off line หรือในวงการของหนังสือ ชื่อดังระดับโลก ที่ชื่อว่า "Mindset-Changing the way you think to fulfil your potential" โดย Dr. Carol S. Dweck และก็มีคนไทยนำมาแปลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อนๆ อาจลองไปหาอ่านดูได้น่ะครับ....แต่เดียวก่อนครับ หลายคนกำลังงงว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับ บทความสตาร์ทอัพในบทความนี้!....อืม นั่นสิครับ เอาเป็นว่า บทความนี้ ผมตั้งใจจะเป็น ภาคต่อ ภาคขยายของบทความที่แล้ว ที่ชื่อ "5 Mindsets ที่เป็นเคล็ดลับจะเปลี่ยนคุณให้เป็นคนฝั่งเดียวกันกับคนสตาร์ทอัพ(Startup)" ดังนั้นถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความที่แล้ว สามารถกลับไปอ่านก่อนได้น่ะครับ! จะได้มีความต่อเนื่องกับบทความนี้
ถ้าจะถามว่า Growth Mindset เกี่ยวข้องอย่างไร ? กับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ คำตอบสั้นๆ ก็คือ "สตาร์ทอัพต้องเน้นการเติบโต ถ้าไม่เติบโตก็ไม่เรียกว่าทำธุรกิจแบบแนวคิดสตาร์ทอัพที่เน้นการเติบโตเป็นจำนวนเท่า 2X, 5X หรือ 10X" แต่ช้าก่อนน่ะครับ! หลายคนกำลังนำเรื่อง Growth Mindset ไปผูกในเรื่องของการเติบโตอย่างเดียว จริงๆ อาจจะไม่ถูกต้องตามแนวคิดของ Dr. Carol S. Dweck เท่าไหร่นักเพราะอย่าลืมว่า คนที่ทำธุรกิจสตาร์ทอัพทุกคนก็ต้องเน้นการเติบโตทั้งนั้นล่ะครับ เพียงแต่ว่าใครจะนิยาม คำว่า "เติบโต" ด้วยนิยามของใครที่จะนำมาเป็นตัวชี้วัด(KPI) ในธุรกิจกัน ซึ่งถ้าจะยกความดีความชอบของแนวคิดนี้ที่สัมพันธ์กับการสร้างธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ ผมจะอิงทฤษฎีของ สตาร์ทอัพที่ว่า สตาร์ทอัพ = Experimental(การทดลอง) มากกว่า เพราะว่า "เราจะไม่รู้ถึงผลลัพธ์ของมันได้เลย ถ้าผลการทดลองยังไม่ถึงตอนท้ายของการทดลองว่ามันจะตรงกับสิ่งที่เราคิดที่เราตั้งสมมติฐานหรือทฤษฎีตั้งต้นของเราหรือไม่?" แล้วเราจะไปต่อกันอย่างไร(Pivot)? อันนี้ล่ะครับ ที่จะเป็นหัวใจของบทความนี้ที่ผมได้นำเสนอ ดังนั้น ถ้าจะถามถึง สมการของ สตาร์ทอัพที่ถูกต้องมันควรจะมาจาก
สตาร์ทอัพ = Experimental + Pivot = Growth หรือ ที่หลายคน ชอบเรียกว่า สตาร์ทอัพ = Growth นั่นเอง!
แต่เคล็ดลับที่อยู่เบื้องหลังนี้ก็คือ "ทุกคนที่ทำธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นต้องเรียนรู้ที่จะล้มให้เร็ว(Fail fast) และพร้อมที่จะลุกขึ้นแล้วเดินหรือวิ่งไปต่อโดยพร้อมที่เรียนรู้และทราบอยู่แล้วว่าหนทางข้างหน้าเราก็อาจจะเจอหลุมและล้มได้อีกเพียงแค่เราไม่หยุดเดินและนำเอาประสบการณ์ที่ผ่านมาของเราปรับเปลี่ยน Business Model เพื่อให้ธุรกิจของเราได้ไปต่อได้" ดังนั้น คนที่แพ้หรือคนที่ล้มเลิกในธุรกิจสตาร์ทอัพก็คือ "คนที่ไม่พร้อมที่จะไปต่อนั่นเอง" ดังนั้น ถ้าคนๆ นั้น มีแนวคิดที่ไม่โทษต่อโชคชะตาและนำแนวคิดของ Growth Mindset เอาไปใช้งานจริงๆ ทุกคนก็จะสามารถผ่านมรสุมชีวิตของวิกฤติของธุรกิจสตาร์ทอัพของเราได้ ซึ่งการ Pivot เพื่อให้ธุรกิจสตาร์ทอัพของเราให้ได้ไปต่อ เช่น
2. Pivot ช่องทาง (Channel) การมาของลูกค้าใหม่
3. Pivot Revenue Model (ช่องทางการได้รายได้ใหม่)
4. Pivot Cost (คิดต้นทุนการดำเนินงานใหม่)
5. Pivot Partner (เปลี่ยนคู่ค้าใหม่)
6. Pivot Business Model ใหม่ หรือจะทำ Model A/B Testing ก็ไม่ว่ากันถ้ายังไม่มั่นใจ
7. Pivot Team (เปลี่ยนทีมใหม่)
ซึ่งเราควรจะทำจาก 1-7 ตามลำดับน่ะครับ ไม่ใช่ เอะอ่ะ อะไร ก็เปลี่ยนทีม, เปลี่ยนธุรกิจกันเป็นว่าเล่นแบบนี้ ไอเดียธุรกิจของเราจะช้ำหมดน่ะครับ นั่นก็แปลว่า "เราอาจที่จะไม่พร้อมที่จะเป็นนักธุรกิจสตาร์ทอัพจริงๆ ก็เป็นไปได้" เพราะถ้า Pitching แค่ 3-7 นาที แล้วไม่ผ่านหรือรับไม่ได้กับคำตัดสินของกรรมการหรือ Pitching แล้วตกรอบแรกหรือ รอบที่ 2,3,4...N แล้วก็ยังไม่ผ่านไม่ถูกใจกรรมการซะที(จริงๆ) ควรให้โอกาสตัวเองถึง 3 ครั้งก่อนน่ะครับ! เผื่อพิจารณาว่า "แต่ละครั้งที่เราไม่ผ่านการ Pitching เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์อะไรบ้าง" เพื่อที่เราจะกลับมาเวทีใหม่เพื่อให้ "คมชัดจัดเต็มเล่นใหญ่" ได้ดีมากขึ้น ซึ่งถ้าใครรับไม่ได้กับกระบวนการคัดกรองนี้ ก็ไม่น่าที่จะเหมาะกับ "วิถีของสตาร์ทอัพ" แล้วละครับ "เพราะในธุรกิจจริงนั้นโหดร้ายมากกว่า Comment ที่โหดร้ายจาก คณะกรรมการมากนัก" ดังนั้นบทความนี้อาจารย์อ๊ะเขียนมาเพื่อให้ ทุกคนที่กระโดดเข้ามาใน "วิถีของสตาร์ทอัพ" ให้ทำการบ้านให้มากพอ มากพอที่จะบอกใครๆ ได้ว่า "ไม่มีใครรู้ดีที่สุดเท่ากับเราในธุรกิจสตาร์ทอัพของเราที่เราได้นำเสนอออกไป" เพราะเราล้มมามากพอ ดังนั้น "ถ้าเราไม่ได้มองว่าโลกสวยเกินไปเราจะทำการบ้านมาเป็นอย่างดีในทุกๆ ครั้ง เพื่อที่เราจะได้ชนะในสนาม Pitching และในสนามจริงของธุรกิจของเรา"
-ด้วยรัก-
อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup
(The Prince Of Startup)
"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ ส่วนใครชอบก็กดไลท์(Like) ใครใช่ก็กดแชร์(Share) ได้ครับผม^^"
See you again!
***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ
1. เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)
2. เฟสบุ๊คแฟนเพจ (Fanpage)
3. ยูทูป(YouTube)
4.อินสตาแกรม(Instagram)
5.กด Line เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มี@ ด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!
ปล. ถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ!
ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย)
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น