วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

5 คำถามที่คนทำสตาร์ทอัพ(Startup) ต้องเจอเวลาที่ถูกกรรมการถามตอบ(Q&A) ตอน Pitching โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

5 คำถามที่คนทำสตาร์ทอัพ(Startup) ต้องเจอเวลาที่ถูกกรรมการถามตอบ(Q&A) ตอน Pitching 
โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

       สวัสดีกันอีกครั้งสำหรับเพื่อนๆ ชาวสตาร์ทอัพ(Startup) ทุกคนในปลายเดือน พ.ย 2562 ปีนี้  สำหรับปลายปีนี้ใครที่เตรียมงาน(Pitch Desk) ไว้ Pitching ปลายปีนี้ หรือต้นปี พ.ศ 2563 หรือ ค.ศ 2020 กันบ้าง?  สำหรับบทความนี้ จะเป็นบทความที่เรียกว่า อาจารย์ อ๊ะ มาเกร็งคำถามคำตอบให้กับเพื่อนๆ ชาวสตาร์ทอัพทุกคนเลย....หรือจะเรียกว่ามาเฉลยแนวทางการตอบคำถามให้กับทุกคนจะดีกว่าครับ!

       เมื่อเราทำ Presentation หรือ Pitch Desk เพื่อเตรียมตัวไป Pitch งานให้กับนักลงทุนฟังเพื่อขอเงินลงทุนไม่ว่าเราจะอยู่ใน State ไหนตั้งแต่ Idea State ไปจนถึงมีลูกค้าแล้ว หรือมี Traction ที่แสดงการเติบโตอย่างหน้าสนใจแล้วและมี Killer Slide ชนิดที่ว่า "หน้านี้เป็น Slide หน้าเด็ด ที่เมื่อเปิดมาแล้วกรรมการจะต้องยอมรับใน ไอเดียของการนำเสนอเราอย่างแน่นอน 1,000 %

      หยุดก่อนครับ !!!!!  การนำเสนอได้ดีนั่น ผมให้สัดส่วน 60%-70% ยังเหลืออีก 30%-40% ที่ผมเทน้ำหน้าให้กับการถามตอบครับ  เพราะอะไร? ......เพราะว่า "ถ้าเราตอบคำถามกรรมการได้แสดงว่าเราได้ทำการบ้านมาดีและละเอียดรู้จริงในเนื้องานของไอเดียธุรกิจของเรา..."อย่าลืมว่าเราต้องรู้ดีที่สุดรู้มากกว่ากรรมการครับ!"  ยกเว้นบางเรื่องที่กรรมการรู้มากกว่าเรา เช่น ด้านเทคนิคเชิงลึก, ด้านการตลาดภาพรวม, ด้านผลตอบแทนหรือด้านแนวโน้มในอนาคต......อ้าวแล้วแบบนี้ ยังจะเหลือที่ว่างให้เราตอบคำถามได้บ้างหรือเปล่า....คำตอบคือ "มีครับแต่เราต้องตอบแบบชาญฉลาดที่สำคัญอย่าสักแต่ว่าตอบดำน้ำไปเรื่อยน่ะครับ! อะไรที่เราไม่รู้ ก็ตอบว่าอันนี้เรายังไม่มีข้อมูลและจะไปทำการบ้านมาเพิ่ม...ห้ามเถียงกรรมการเป็นอันขาด...เพราะมันจะกลายเป็นว่าเราควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ซึ่งจะมีแต่ผลเสียครับ!!!





        ดังนั้น บทความนี้ผมจะมาติว  "5 คำถามที่คนทำสตาร์ทอัพ(Startup) ต้องเจอเวลาที่ถูกกรรมการถามตอบ(Q&A) ตอน Pitching กันครับ"

ลุย!!!  มาต่อกันครับ!!!!!

คำถามที่ 1:  ใครคือลูกค้าของคุณกันแน่?  

             "ถ้าเจอคำถามแบบนี้แสดงว่า เราอธิบายลูกค้า(Persona) ของเราไม่ชัดเจนหรือไม่ก็หว่านลูกค้าไปทั่วใน Business Model Canvas ของเราทำให้กรรมการฟังแล้วงง สรุปใครคือลูกค้าของเรากันแน่?

วิธีการตอบ:  วิธีการที่ 1  ถ้าเป็นไปได้ผมจะเสนอให้ลงแค่ลูกค้ากลุ่มเดียวแบบชัดเจนไปเลยใน Business  Model Canvas ตั้งแต่การทำ Presentation แล้วเพื่อป้องกัน เวลาที่เรานำเสนอจะหลงประเด็นเอาทุกคนเป็นลูกค้าของเราเสียหมด เช่น Persona เราเป็น ผู้หญิงอายุ 25-30 ปี  โสดและเป็น First Jober (เพิ่งเริ่มต้นทำงาน)  มีเงินเดือน 15,000-20,000 บาท  อยู่คอนโดในชานเมือง ยังไม่มีรถยนต์ขับ  ไม่ชอบแต่งตัว และไม่ชอบทำอาหารเอง เป็นต้น

                      วิธีการที่ 2  ให้แบ่งลูกค้าของเราออกเป็นแค่ 2-3 กลุ่มพอครับอย่าให้เกิน 3 กลุ่ม โดยให้ กลุ่ม 1 คือ กลุ่มหลัก(Potential) หรือ Key Customer   กลุ่ม 2 คือ รองลงมากจากกลุ่มที่ 1  กลุ่ม 3 รองมาจากกลุ่มที่ 2 โดยแบ่งสัดส่วนจากมากไปน้อยให้ชัดเจนและแจ้งว่าแต่ละกลุ่มเราจะ Focus ตอนไหนเดือนไหนปีไหน  (TIP) ห้ามบอกว่า Focus พร้อมๆ กันเด็ดขาดเพราะเราเป็นสตาร์ทอัพไม่มีเวลาไปดูลูกค้าทุกกลุ่มในเวลาเดียวกันครับในการทำงานจริง
     

คำถามที่ 2:  คุณจะหารายได้ยังไง? 

               "ถ้าเจอคำถามแบบนี้แสดงว่า เราอธิบาย Revenue Stream หรือ Revenue Model  ของเราไม่ชัดเจนหรือไม่ก็กรรมการยังไม่ค่อยที่จะเชื่อว่าคุณจะหารายได้แบบที่คุณนำเสนอได้!!

วิธีการตอบ:  วิธีการที่ 1  กรณีที่มีลูกค้าเปิดใบสั่งซื้อ PO มาให้เราแล้วให้แสดงใบ PO การสั่งซื้อให้กรรมการดูเลยครับ กรรมการท่านจะได้เชื่อและแสดงว่าเราสามารถขายของให้กับลูกค้าได้แล้ว

                     วิธีการที่ 2   กรณีที่ยังไม่มีลูกค้าเปิดใบสั่งซื้อ PO มา (TIP) ให้ใช้ภาพที่เราไปคุยกับลูกค้าหรืออธิบายถึงโครงสร้างรายได้โดยอธิบายว่า หลังจากที่เราได้ไปพบลูกค้าแล้ว ลูกค้ามีเงื่อนไขในการสั่งซื้อของเราคือ.........ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างการได้มาของรายได้ของเราในข้างต้นซึ่งลูกค้าจะเปิด PO ให้กับเราภายในหรือหลังจาก........เป็นต้น


คำถามที่ 3:  ปัญหาของคุณเป็นปัญหาของลูกค้าจริงหรือเปล่า?  หรือปัญหาของคุณยังไม่ชัดน่ะ?

            "ถ้าเจอคำถามแบบนี้แสดงว่า เราอธิบาย Problem หรือ Pain ของเราไม่ชัดเจนหรือไม่ก็แสดงปัญหาที่เยอะเกินไปจนกรรมการงงว่า ตกลงปัญหาไหนสำคัญที่สุด? ที่เราจะแก้มัน!

วิธีการตอบ:  (TIP)  ให้เราระบุปัญหาลงไปใน Slide ไม่เกิน 3 ปัญหาหรือ TOP 3 Problems โดยเรียงปัญหาขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก และพยายามเน้น ปัญหาหลักเพียงปัญหาเดียวก่อนและเล่าเรื่องให้กรรมการมั่นใจว่านี่คือปัญหาจริงๆ สมควรที่จะได้รับการเเก้ไขโดยเร่งด่วน!!!

    (TIP)   "จงจำไว้ว่า ปัญหาในธุรกิจสตาร์ทอัพนั่นต้องเร่งการแก้ไขด่วนแล้วทำให้เกิดการ Disrupt ด้วย Solution ของการแก้ปัญหาของเราทันที!  แต่ถ้าปัญหานั่นเป็นปัญหาที่รอได้ Buiness Model นั้นๆ ก็อาจจะไม่เหมาะสมในการเลือกที่จะมาแก้ไขปัญหาดั่งกล่าว


คำถามที่ 4:  ใครคือคู่แข่งของคุณ?

 วิธีการตอบ:    (TIP)  ห้ามตอบว่า "ไม่มีคู่แข่ง"  เพราะแปลว่า  คุณทำการบ้านมาไม่ดีพอ!!! 

แต่ให้ตอบว่า คู่แข่งทางตรงของเราคือ.........แต่เรามีจุดที่เหนือกว่าในเรื่องของ........และคู่แข่งทางอ้อมของเราคือ......ซึ่งในอนาคตเราจะมีการพัฒนาสินค้าหรือบริการของเราให้..........ทำให้ผู้เล่นรายใหม่จะไม่สามารถแย่งลูกค้าเราไปได้เพราะเรามีเทคโนโลยีหรือ Connection กับลูกค้าของเรา เป็นต้น


คำถามที่ 5:  ถ้าคุณไม่ได้เงินทุนครั้งนี้คุณจะยังทำธุรกิจของคุณต่อไปหรือไม่?

 วิธีการตอบ:  (TIP)  ทางเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำธุรกิจของเราต่อไปครับเพราะเป็นความมุ่งมั่นและตั้งใจของผมซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจนี้ เรามีความเชื่อว่าธุรกิจของเราจะสามารถช่วยเหลือและส่งผลกระทบให้ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับถึงแม้ว่าเราจะผ่านหรือไม่ผ่านการนำเสนอไอเดียธุรกิจวันนี้ ทางผมมีความตั้งใจที่จะทำธุรกิจนี้ให้สำเร็จให้ได้ครับ 


            ข้อที่ 5 นี้ เทคนิคการตอบคือ   ทำ+ดราม่า นิดๆ พองาม....เพราะจริงๆ กรรมการเพียงแค่จะทดสอบความมุ่งมั่นตั้งใจของเราหรือ Passion ของเราว่ามีระดับไหน? เพราะคำถามข้อนี้ ถ้าเจอใครที่ใจไม่นิ่งไม่มั่นคงพอ สีหน้าและแววตาความไม่มั่นใจจะออกมาชัดเจนเลยครับ และกรรมการเขาก็จะจำได้เช่นกัน ดังนั้น เขาก็จะให้ทีมที่มีความมั่นใจกว่าเขารอบไปนั่นเอง!  


         วิธีการตอบทั้ง 5 ข้อนี้  เป็นเคล็ดลับที่ไม่ค่อยมีใครกล้ามาบอกตรงๆ กันครับแต่ผมว่ามันเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวสตาร์ทอัพของผมนี่ล่ะครับ เผื่อนำไปประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นแนวทางในการตอบคำถามกันครับ....แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าน่ะครับ! ว่าอาจารย์อ๊ะจะนำเทคนิคอะไรในวงการสตาร์ทอัพมาอธิบายและตีแผ่ให้อีก

       กับ อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup  แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับผมและสามารถติดตามผมได้ที่ช่องทางด้านล่างเหล่านี้ รวมถึงสามารถเป็น FC ของผมเพื่อรับข้อมูลธุรกิจสตาร์ทอัพและแนวคิดทางธุรกิจและเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจอีกมากมายได้ที่ ไลน์ พิมพ์หา ที่ @ajarnah (มี@) แล้วพบกันครับ!  "เหล่ามิตรรักแฟนคลับสตาร์ทอัพของอาจารย์อ๊ะทุกคน" 


-ด้วยรัก-

อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup
(The Prince Of Startup)


"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์(Like) ใครใช่ก็กดแชร์(Share) ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!


ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อคิดจากหนังสือ "ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพได้อย่างไร?" โดย อาจารย์อ๊ะ -The Prince Of Startup

ข้อคิดจากหนังสือ "ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพได้อย่างไร?"  โดย อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup 


สวัสดีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว Startup ทุกคนอีกครั้ง หลังจากที่ผมห่างหายไป 1 เดือนในการเขียนบทความทางสตาร์ทอัพ ก่อนอื่นต้องขอกลับมารายงานตัวอย่างเป็นทางการอีกครั้งน่ะครับ! และกลับมาบอกทุกคนว่า "ผมไม่ได้หายไปไหนครับ?" ยังคงเป็น Startup Man คนเดิมๆ อยู่ ใช้วิถีชีวิตตามแบบชาวสตาร์ทอัพเขาใช้กันก็ไม่ได้มีอะไรที่หวือหวาอะไรครับ!  แต่ต้องยอมรับว่าในเดือน ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมานี้ ผมกลับรู้สึกประทับใจกับชื่อหนังสือ เล่มที่เจ้าสัว ซี พี เขียนขึ้นมาเล่มแรก(ถ้าเล่มอื่นๆ ก็ จะเป็นแนวมีท่านอื่นเขียนถึงหรือเป็นการสัมภาษณ์ท่านส่วนใหญ่) ใช่ครับ หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า 


"ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว!!!"  


ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่เมื่อท่านใช้เวลากว่า 8 ปี กว่าจะได้หนังสือเล่มนี้ออกมาซึ่งถ้าถามประสบการณ์ทางธุรกิจของเจ้าสัวก็ ไม่ต่ำกว่า 60-70 ปี แน่นอนเพราะท่านทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 17 ปี  ซึ่งรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ คงหาอ่านได้จากหนังสือเล่มนี้ ได้ไม่ยากครับ....

 และแน่นอนหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือ Best Seller ของสำนักพิมพ์ มติชน ทันทีที่เปิดตัว เพราะไม่ว่าจะเป็นชื่อของหนังสือที่กระแทกกระทั้นแทงใจใครหลายคนรวมทั้งผมด้วย และคนที่เขียนก็เป็นบุรุษที่รวยที่สุดในประเทศไทย  ซึ่งกว่าที่ผมจะหาซื้อมาได้ ก็ตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 เเล้วครับ! ...พอดีผมไม่ได้ไปร่วมงานวันเปิดตัวหนังสือนี้ที่เมืองทองธานีที่ผ่านมาซึ่งเมื่อผมได้ดู คลิปย้อนหลังก็พบว่า มีสื่อมวลชนและแขกไปร่วมงานกันอย่างอุ่นหนาฝาคลั่งและยังมีเหล่าลูกๆ ของคุณ ธนินท์ ไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือของคุณพ่อด้วยซึ่งบรรยากาศตอนท้ายเป็นบรรยากาศการมอบช่อดอกไม้ให้กับคุณ ธนินท์ เจ้าสัว ซีพี ระดับแสนล้านของเมืองไทยซึ่งเป็นบุรุษที่รวยเป็นอันดับหนึ่งของเมืองไทยและยังเป็นบริษัทข้ามชาติบริษัทแรกของโลกที่ก้าวเข้าไปทำธุรกิจที่ประเทศจีนซึ่งประเทศจีนให้ใบรับรองการจัดตั้งธุรกิจรหัส  0001  ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าเป็นก้าวแรกที่บริษัทของคนไทยก้าวย่ำไปแดนมังกรและตั้งธุรกิจเป็นรายแรกในประเทศจีน.......กับบุรุษที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทยกับอายุปัจจุบันกว่า 80 ปี และการพัฒนาทางธุรกิจที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง...สมกับชื่อหนังสือเล่มนี้จริงๆ  


"ซึ่งวันนี้ผมมีมุมมองที่ขยายต่อจากความคิดของเจ้าสัวออกไปอีก ซึ่งทุกท่านเชื่อไหมครับว่า คำที่เจ้าสัวพูดบ่อยที่สุดในวันเปิดตัวหนังสือของท่าน  ท่านพูดคำว่าอะไรตลอดการถูกสัมภาษณ์?" 


ผมเฉลยให้ครับ....ท่านพูด คำว่า "สตาร์ทอัพ Startup" มากที่สุด โดยที่ผมนับได้เกือบจะ 10 ครั้งที่ท่านพูดท่านเน้นตลอดการให้สัมภาษณ์บนเวทีกว่า 1.5 ชม 



หนังสือความสำเร็จดีใจได้วันเดียว ของคุณ ธนินท์ เจียรวนนท์  

ผมเลยตั้งคำถามใหม่ให้กับตัวเองว่า "ทำไมเจ้าสัวพูด คำว่า สตาร์ทอัพ(Startup) บ่อยมากและเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้งก็พบความจริงว่า สิ่งที่คุณ ธนินทร์ ยึดถือและปฎิบัติมาตลอดการเป็นนักธุรกิจมันก็คือ "หัวใจของผู้ประกอบการตัวจริง" Entrepreneur Mind ซึ่งมันเป็นหัวใจของเหล่าสตาร์ทอัพทุกคนพึงควรจะมี..ผมควรจะใช้คำว่า "ต้องมี" แลดูจะเหมาะสมกว่า ทำไม?  เพราะ 

"สตาร์ทอัพ ก็คือ ผู้ประกอบการคนหนึ่งที่ยังไม่รู้เส้นทางของตัวเองอย่างชัดเจน! 


ประโยคข้างตน ผมเป็นคน บัญญัติขึ้นมาเองน่ะครับ ไม่ต้องไปหาที่ไหนไม่ว่าจากตำราไทยหรือตำราต่างประเทศเพราะผมให้นิยามนั้นมาจากประสบการณ์ของผมเองนั่นแหล่ะครับ!

ทีนี้เราลองมาเปรียบเทียบสิ่งที่คุณ ธนินทร์ทำ vs กับเหล่าสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจกันบ้าง?  

ธุรกิจ ซี พี:     

คุณ ธนินท์ ชอบเรียนรู้ตั้งแต่เด็กๆ  ในยามที่ช่วยดูแลกิจการ "ธุรกิจไก่" ก็ติดรถคนขับรถไปดูด้วยว่าเขาซื้อเขาขายของกันอย่างไร? ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้จำหน่าย เรียกว่า ศึกษา "โซ่อุปทานของมันให้แตกฉานที่สุดในการดำเนินธุรกิจ" จากนั้นก็เริ่มค้นวิธีการเลี้ยงไก่ที่เป็นสูตรเฉพาะตัวโดยศึกษาเทคโนโลยีจากประเทศอเมริกาและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยโดยมีทีมงาน ดร หลายคนของประเทศไทยอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ ซึ่งไม่ใช่เพราะท่านทำธุรกิจโดยท่านเก่งเพียงคนเดียวแต่ท่านจ้างคนที่เก่งกว่าท่านมาช่วยทำธุรกิจให้และสร้างทีมงานที่พร้อมทุ่มเทกันทำงานกันอย่างเต็มที่และท่านชอบทำของยากที่ท้าทายเสมอ! ต้องรู้ลึกรู้จริง  ถ้าอะไรที่ไม่รู้ ท่านจะต้องรู้ถ้าเป็นประโยชน์กับธุรกิจของท่าน แนวคิดแบบไม่ยอมแพ้ ไม่กลัวงานที่ยากและท้าทาย เปรียบเสมือน "ลูกวัวไม่กลัวเสือ" พร้อมกับหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ แม้แต่เจ้าของ ลิขสิทธ์ 7-Eleven จาก USA บอกว่า "เมืองไทยไม่เหมาะสมกับการตั้งธุรกิจ 7-Eleven หรอก" เพราะกำลังซื้อไม่ดีเท่าตลาดในอเมริกา...ท่านก็ยังไม่ยอมแพ้พร้อมพิสูจน์ด้วยตัวเลขข้อเท็จจริง ความจริงก็คือ ในเรื่องของ ต้นทุนการบริหารงานในประเทศไทยต่ำกว่าการบริหารจัดการในตลาดอเมริกาถึง 10 เท่าแม้ว่ากำลังซื้อ 1 คนของประเทศอเมริกาจะเท่ากับ 10 คนของประเทศไทย คุณ ธนินท์ สามารถโน้มน้ามบริษัทแม่จากอเมริกาได้ด้วยข้อเท็จจริงนี้ จนสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทแม่ในอเมริกาให้เกิดการร่วมลงทุนกับประเทศไทยจนได้  จน ซี พี ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธ์แฟรน์ไชน์ในประเทศไทยซึ่งถ้ามองย้อนกลับไป ไม่เกิน 10 ปี ผมยังคุ้นๆ ว่า จำนวนสาขาของ  7-Eleven แตะที่ระดับ 7,000 สาขา มาวันนี้ กว่า 10,000 สาขาที่ ธุรกิจ 7-Eleven  กระจายอยู่ทุกหัวระแหงทั่วประเทศไทยจนบ่อยครั้งเราก็มักจะใช้  7-Eleven  เป็นเสมือนตัววัดความเจริญของหมู่บ้านของเราว่า "หมุ่บ้านของเรามี 7-Eleven แล้วน่ะ เท่ากับว่า หมู่บ้านเราเจริญแล้วน่ะ เสมือนมีน้ำมีไฟมีถนนตัดผ่านกันเลยทีเดียว....กับความเป็นนักธุรกิจผู้ประกอบการที่กล้าเสี่ยงอยู่เสมอ ถ้าเสี่ยง 30% ได้ คืน 70% ท่านก็จะเข้าเสี่ยงแต่เบื้องหลังก่อนการเสี่ยงนั้นท่านจะทำการบ้านมาก่อนเสมอ โดยศึกษาให้รู้ลึกและรู้จริงจนสามารถเป็นผู้นำในวงการนั้นๆ โดยหลายคนก็ชอบบอกว่า ซี พี  "ผูกขาดตลาด" ความจริงก็คือ ซี พี แค่เข้าไปทำธุรกิจก่อนใครในวงการนั้นๆ นั้นเอง โดยเอาเทคโนโลยีมานำเพื่อให้เกิด Win Win กับทุกฝ่ายใครถนัดอะไรก็ทำเรื่องนั้น ซี พี จะช่วยเรื่องที่ไม่ถนัดให้  รวมถึงให้คำปรึกษาและช่วยเรื่อง การกู้เงินให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เสมือนเป็นญาติกัน "เพราะขาดเขาเรา(ซี พี) ก็อยู่ไม่ได้"  จากความสำเร็จในธุรกิจเลี้ยงไก่ครบวงจร(Food Supply Chain)  ก็ขยายไปสู่ธุรกิจหมู ธุรกิจกุ้ง ธุรกิจโทรคมนาคม(ธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่ปัจจุบันชื่อว่า "True" ทรู จากครั้งแรกที่ชื่อ "Orange"  และธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ในนามที่เรารู้จักกันดีว่า "แม๊คโคร" และ "โลตัส"  ซึ่งการขยายธุรกิจที่ว่านี้ เกิดจากความที่คุณ ธนินทร์ ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะเรียนรู้พร้อมกับการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้(Disrupt)  จนมีบทสัมภาษณ์ในคลิปวีดิโอหนึ่งโดยเป็นการสัมภาษณ์โดยคุณ สุทธิชัย หยุน สัมภาษณ์ คุณ ธนินทร์ ที่ สถาบันพัฒนาผู้นำที่เขาใหญ่ของคุณ ธนินทร์ ว่า ปัจจุบัน คุณ ธนินทร์ใช้เวลาทำอะไรมากที่สุด?  คุณ ธนินทร์ ตอบว่า  "เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ ไปคุยกับเด็กรุ่นใหม่ เพราะเขาอยากรู้ว่า เด็กรุ่นใหม่หรือคนรุ่นใหม่เขาคิดอะไร?  เหมือนกับสิ่งที่คุณ ธนินทร์ พูดไว้ในคลิป วันเปิดตัวหนังสือของเขาว่า "เรื่องใหม่ ต้องใช้คนรุ่นใหม่"  และนี่คือ วิสัยทัศน์ของ บุรุษ ที่ได้ขึ้นชื่อว่า เป็น บุคคลที่รวยที่สุดในประเทศไทย  กับ วิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจที่ไม่หยุดนิ่งและก่อร่างสร้างตัวจากความมุ่งมั่นและความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคจนเกิดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่อันดับ 1 ของประเทศไทยพร้อมกับความ "ถ่อมตน" ที่ว่า ธุรกิจยิ่งใหญ่ ยิ่งเป็นของสังคม....... 

ถ้าทุกท่านที่เกิดความสงสัยว่า  "ทำไมผมถึงระบายสีน้ำเงินและเน้นตัวเข้มไว้"  ผมเชื่อว่ามีหลายคนเดาใจผมถูกล่ะ  ผมเฉลยให้ดีกว่าครับ   3, 2.......1 

ที่ผมเน้นข้อความข้างบนด้วยสีน้ำเงิน นั้นก็คือ "ทักษะของนักธุรกิจสตาร์ทอัพ Statup นั่นเอง" 

ธุรกิจสตาร์ทอัพและนักธุรกิจสตาร์ทอัพ:

เนื่องจาก "สตาร์ทอัพ"  ก็คือ ผู้ประกอบการคนหนึ่งที่ยังไม่รู้เส้นทางของตัวเองอย่างชัดเจน! ดังนั้นเราจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องใส่ หัวใจของผู้ประกอบการลงไปให้เกิน 100%  ทุกครั้งในการทำงาน

เราต้อง

1. แตกฉานที่สุดในการดำเนินธุรกิจ:   เราต้องรู้ดีที่สุดในธุรกิจหรือในตลาดของเรา ดังนั้น จงถามตัวเอง ว่า "เรารู้ดีที่สุดในธุรกิจหรือในตลาดของเราหรือยัง?  ถ้ายัง "จงเรียนรู้และทำต่อไป" 

2. นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตลาดหรือลูกค้าของเรา:   ดังนั้น จงถามตัวเอง ว่า "เรามีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับในธุรกิจหรือในตลาดของเราหรือยัง?  ถ้ายัง "จงเรียนรู้และทำต่อไป" 

3. สร้างทีมงานที่พร้อมทุ่มเทกันทำงานกันอย่างเต็มที่:   ดังนั้น จงถามตัวเอง ว่า "เรามีทีมงานที่พร้อมทุ่มเทกันทำงานกันอย่างเต็มที่หรือยัง?  ถ้ายัง "จงเรียนรู้และสร้างทีมงานต่อไป" 

4. พร้อมพิสูจน์ด้วยตัวเลขข้อเท็จจริง:  เวลาทำสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ชอบเอาความชอบส่วนตัวหรือ Passion ส่วนตัวเป็นหลักไม่ชอบไปพิสูจน์หาข้อเท็จจริงในตลาดหรือกับคนที่เป็นลูกค้าตัวจริงกัน? 
ดังนั้น จงถามตัวเอง ว่า "เราพร้อมพิสูจน์ด้วยตัวเลขข้อเท็จจริงหรือยัง?  ถ้ายัง "จงเรียนรู้และพิสูจน์ด้วยตัวเลขข้อเท็จจริงกันต่อไป" 

5.  เป็นผู้นำในวงการนั้นๆ ยิ่งผูกขาดตลาดได้ยิ่งดี:  นี่คือสุดยอดความปรารถนาที่เหล่าสตาร์ทอัพต้องการ อย่าโกหกตัวเองครับ ว่าไม่จริง!  เพียงแต่การผูกขาดตลาดนั้น ทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน Win-Win  ดังนั้น จงถามตัวเอง ว่า "เราเป็นผู้นำในวงการนั้นๆ หรือผูกขาดตลาดได้หรือยัง?  ถ้ายัง "จงเรียนรู้และทำต่อไป" 

6.  ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะเรียนรู้และขยายธุรกิจออกไป: หลายสตาร์ทอัพใช้วิธีการ  "จดสิทธ์บัตร" เพื่อสกัดคู่แข่งเข้ามาเล่นในตลาดของเรา  ผมไม่เถียงครับว่า สิทธ์บัตร ก็เป็นสิ่งที่ต้องการของเหล่าสตาร์ทอัพแต่การขยายธุรกิจหรือขยาย Connection ออกไปเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าครับ!!  เพราะเทคโนโลยีเดี๋ยวก็มีคนคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาตามกันทันส่วนใครจะไปดำเนินการฟ้องร้องเรื่องละเมิดสิทธ์บัตรนความเป็นจริงไม่มีใครเสียเวลากับเรื่องพวกนี้หรอกครับ เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงและระยะเวลาฟ้องร้องนานมากไม่คุ้มค่ากับการดำเนินธุรกิจดูอย่างกรณี Apple กับ Samsung ทุกท่านยังจำกันได้ไหมครับในอดีตกว่าจะฟ้องร้องกันเสร็จ เราก็ลืมกันไปแล้วครับสุดท้ายการเลียนแบบกันในการออกแบบเป็นผลว่าต่างคนก็โดนกันไปกันในบางจุด คดีความฟ้องร้องยืดเยื้อหลายปี สุดท้ายเสียหายทั้งคู่ อย่าลืมว่า Samsung ก็เป็นผู้ผลิตหน้าจอให้กับมือถือ Apple  อยู่แล้วจากคู่แข่งเป็นคู่ค้าไม่ดีกว่าเหรอครับ?  ดังนั้นคนเป็นสตาร์ทอัพจำเป็นต้องทำในลักษณะนี้เลยครับ ยิ่งเอาคู่แข่งมาเป็นคู่ค้ายิ่งทำให้ธุรกิจเรายิ่งเติบโตยิ่งเพิ่มศักยภาพในการขยายธุรกิจเหมือนกับ CEO ของ Mircosoft คนปัจจุบันที่ชื่อ คุณ สัตยา นาเดลล่า ที่จับมือกับ Apple โดยเอา Office 365 ของเขาไป Run อยู่บนมือถือของ Apple และ เครื่อง Mac Book ของ Apple ร่วมทั้งการจับมือกับบริษัท Sony ในเรื่องของ Gaming ดังนั้นการขยายธุรกิจและความไม่หยุดนิ่งคืออีกหนึ่งของความสำเร็จของธุรกิจสตาร์ทอัพของเหล่าสตาร์ทอัพทุกคน ดังนั้น จงถามตัวเอง ว่า "เราไม่เคยหยุดนิ่งที่จะเรียนรู้และขยายธุรกิจออกไปหรือยัง?  ถ้ายัง "จงเรียนรู้และทำต่อไป" 

ผมว่า "บทความยาวครั้งนี้ของผมน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนในวงการสตาร์ทอัพ(Startup) ได้เป็นอย่างดีรวมทั้งนักธุรกิจทั่วไปที่อาจเป็นนักธุรกิจสตาร์ทอัพหรือเป็นเจ้าของกิจการอยู่แล้วรวมทั้งอีกหลายคนที่จะกระโดดเข้ามาทำธุรกิจสตาร์ทอัพ"  

ผมไม่เคยบอกว่า "ทำธุรกิจสตาร์ทอัพแล้วจะรวยเร็ว" ในทางกลับกันทุกคนทราบดีว่าธุรกิจสตาร์อัพนั่นต้องแลกกับความอึดถึกทนใครที่อดทนมากกว่าลุยมากกว่า คนนั่นจะได้ชัยชนะไปครอบครองไม่ต้องห่วงว่าจะมีคนมาเลียนแบบธุรกิจ เพราะคนที่อดทนไม่มากพอจะถอดใจไปเองครับ เหมือนระยะทางพิสูจน์ม้ากาลเวลาพิสูจน์นักธุรกิจสตาร์ทอัพ Startup นั่นเองครับ" ดังนั้นเรื่องของ Startup Mindset สำคัญที่สุดในการเรื่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพ....

ผมจึงอยากให้ทุกคนเข้าใจเรื่อง "หัวใจของผู้ประกอบการให้ถ่องแท้" ก่อนที่จะกระโดดเข้ามาทำธุรกิจสตาร์ทอัพครับ เพราะมันเป็นสิ่งเดียวสิ่งแรกและสิ่งสุดท้ายที่เหล่านักธุรกิจสตาร์ทอัพควรจะมี ผมควรจะใช้คำว่า "ต้องมี" ถึงจะถูกต้องครับ!  

สุดท้ายนี้ผมขอเป็นกำลังใจให้เหล่านักธุรกิจสตาร์ทอัพทุกคนทั้งคนเก่าและคนใหม่(ว่าที่นักธุรกิจสตาร์ทอัพ) และเจ้าของกิจการธุรกิจทุกคนตลอดจนใครที่กำลังสนใจในแนวคิดของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพนี้


"ถ้าชอบบทความนี้....สามารถแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ หรือคนที่คุณรักในวงการสตาร์ทอัพหรือคนที่ทำธุรกิจทั่วไปก็สามารถใช้ประโยชน์ของแนวคิดธุรกิจแบบสตาร์ทอัพได้ครับทั้ง SME หรือ บริษัท ขนาดใหญ่  หรือคนที่จะทำธุรกิจสตาร์ทอัพหรือผู้ที่สนใจแนวคิดของธุรกิจสตาร์ทอัพได้ครับ
และมาร่วมกันพัฒนา Startup ไทยของเราไปด้วยกันครับ" 

สำหรับผู้ที่สนใจแนวคิดการสร้างธุรกิจด้วยแนวคิดของสตาร์ทอัพ สามารถติดตามผมได้ที่ 


อาจารย์อ๊ะ


อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

 "แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับผมและสามารถติดตามผมได้ที่ช่องทางด้านล่างเหล่านี้ รวมถึงสามารถเป็น FC ของผมเพื่อรับข้อมูลธุรกิจสตาร์ทอัพและแนวคิดทางธุรกิจและเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจอีกมากมายได้ที่ ไลน์ พิมพ์หา ที่ @ajarnah (มี@) แล้วพบกันครับ!  "เหล่ามิตรรักแฟนคลับสตาร์ทอัพของอาจารย์อ๊ะทุกคน" 


-ด้วยรัก-

อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup
(The Prince Of Startup)


"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์(Like) ใครใช่ก็กดแชร์(Share) ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ah99) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!


ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!


ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม โดย อาจารย์อ๊ะ-ที่ปรึกษา Startup สำหรับ SME

  ✅ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม 😊ธุรกิจขายตรง (Direct Selling) ยังคงเป็นหนึ่งในโมเดลธ...