วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564

ข้อคิด 10 ข้อ ของ Guru Startup ที่ชื่อ Peter Thiel(ปีเตอร์ ธีล) นักลงทุนคนแรกของ Facebook แห่งซิลิคอนวัลเล่ย์(Silicon valley)

"Peter Thiel(ปีเตอร์ ธีล) ถือ ว่าเป็น Guru ทางด้าน Startup คนแรกๆ ของโลกก็ว่าได้ เพราะเป็นผู้ก่อตั้ง Paypal  ก่อนที่จะถูกขายออกไปยัง E-bay ในยุคของ E-commerce เฟื่องฟูคนส่วนใหญ่เลยเรียกติดปากว่า E-Bay Paypal และ Peter Thiel(ปีเตอร์ ธีล) ก็ยังเป็นนักลงทุนคนแรกของ Facebook อีกต่างหาก!หลายคนขนานนามเขาว่าเป็น "อาจารย์สตาร์ทอัพ" และเขายังแต่งตำราชื่อดังก้องโลกที่ชื่อว่า "(ZERO to One)" ที่คุณกระทิง พูนผล (The God Father แห่งวงการสตาร์ทอัพของเมืองไทย ชอบ พูดประโยคนี้อยู่บ่อยๆ  ว่า "(Zero to One คือ การเริ่มธุรกิจ จาก ศูนย์ ไปหนึ่งให้ได้ก่อนค่อยไป One to Ten) 




    ดังนั้นวันนี้ ผมจึงกลับมาตอกย้ำหลักคิด หรือ ข้อคิดของ Guru ท่านนี้อีกครั้งเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆ ท่านที่กระโดดเข้ามาในวงการการทำธุรกิจด้วยแนวคิดแบบสตาร์ทอัพกัน


ข้อคิดที่ 1: Peter Thiel  บอกว่า  ความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการก็คือ  "สูตรสำเร็จไม่มีอยู่จริงใครที่บอกว่าเราสามารถ Copy Model ธุรกิจจากโลกตะวันตกมาใช้ในเมืองไทยแล้วจะสำเร็จ 100% บอกเลยว่า ไม่ง่าย  เพราะนวัตกรรมทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งใหม่และต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ทางใดก็ทางหนึ่งดังนั้น ความก้าวหน้าในแนวดิ่ง(การทำสิ่งใหม่) ก็คือ การเริ่มจาก ศูนย์ ไป หนึ่ง ส่วนความก้าวหน้าในแนวราบ(คือ การเลียนแบบสิ่งที่ใช้ได้ผลอยู่แล้ว มัน คือ จาก 1 ไปเรียกว่า โลกาภิวัฒน์(การขยายตลาดหรือพรมแดนแค่นั้น!) มันไม่ใช่การเกิดสิ่งใหม่แต่อย่างใด


ข้อคิดที่ 2:  Peter Thiel  บอกว่า  คนที่ประสบความสำเร็จจะมองเห็นคุณค่าในที่ ที่คาดไม่ถึง!   ผมสนับสนุน ข้อคิดนี้ 100% ครับ เพราะไม่ว่าเราจะทำธุรกิจอะไร ส่วนใหญ่แล้วผู้ก่อตั้งหรือ CEO ของบริษัทมักจะต้องทนต่อแรงต้านของการไม่เห็นด้วยตั้งแต่ระดับทีมงานระดับล่างสุดไปจนถึงระดับประเทศหรือระดับโลก ไม่รวมเรื่องกฎหมายในประเทศและกฎหมายต่างประเทศที่มักไม่ค่อยเอิ้อกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพเท่าไหร่นัก! ทั้งๆ ที่เราพยายามป่าวประกาศออกไปว่า เรามี Eco-System ของ Startup แต่ความเป็นจริงคนที่จะ Drive ธุรกิจสตาร์ทอัพต่อ ก็คือ ตัวผู้ก่อตั้ง (CEO/Founder) นั่นเอง!


ข้อคิดที่ 3:  Peter Thiel  บอกว่า  หากคุณไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ การรวมตัวกันอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าผมไม่แปลกใจที่ กระแส M&A (ควบรวมกิจการ) ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ เช่น MK ซื้อ แหลมเจริญ, WONGNAI ควบรวมกับ LINE MAN, Alibaba เข้าซื้อ LAZADA และ Web Sanook.com  Facebook ควบรวมกับ IG และ Whatapp หรือการเข้าซื้อกิจการอื่นๆ ของเจ้าสัวระดับประเทศ ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนคู่แข่งให้กลายเป็นทีมเดียวกัน แถมคนที่ได้ Deal ไปก็จะมี Scale ธุรกิจที่มีจำนวนสาขาหรือจำนวนลูกค้าเพิ่มเข้ามาในระบบเป็นแสนเป็นล้านคนในชั่วข้ามคืน! ดังนั้น Exit Startegy  ของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพหลายคนไม่ต้องการเป็นบริษัท 100 ปี เพียงแค่รอให้ขาใหญ่มาซื้อกิจการของเขาไปแลกกับเงินสดก้อนมหึมาที่ได้มาก็พอใจแล้ว


ข้อคิดที่ 4:  Peter Thiel  บอกว่า "จงสร้างบริษัทที่ผูกขาดให้กับตัวเองและเป็นการผูกขาดอย่างสร้างสรรค์ผมเห็นด้วยในการเริ่มต้นที่ทุกธุรกิจสตาร์ทอัพจะต้องชนะในตลาดเล็กๆ ให้ได้ก่อน คือ เราต้องเก่งในตลาดของตัวเอง ตลาดของคนอื่นเป็นอย่างไร ไม่รู้แต่ถ้าเป็นงานที่เราถนัดตลาดที่เราเลือกมาอย่างดีแล้ว ผลิตภัณน์กับตลาดของเราต้องตอบโจทย์ตลาดนั้นๆ มากกว่าใคร(Product-Market fit)


ข้อคิดที่ 5:  Peter Thiel  บอกว่า "การเลือกผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทหรือการพิจารณาว่าคุณจะร่วมมือกับใครก็เหมือนกับ "การแต่งงานผมสนับสนุนแนวคิดนี้ 100% เพราะไม่ใช่แค่ความเป็นเพื่อน, คนรักหรือคู่ครอง, หรือคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน  เพราะปัญหาใหญ่ที่สุดของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ไปไม่รอดก็คือ "การที่ผู้ก่อตั้งทะเลาะกันถ้าเงินหมดยังหาเงินได้ ถ้า Model ธุรกิจไม่ Work ก็ยัง Pivot Model ใหม่กันได้ แต่ถ้าทีมงานหรือผู้ก่อนตั้งทะเลาะกัน.......จบครับ!


ข้อคิดที่ 6:  Peter Thiel  บอกว่า "จำนวนกรรมการบริษัทที่เหมาะสมที่สุดคือ 3 คนหรืออย่างมากที่สุดก็ 5 คน เว้นแต่บริษัทมหาชนที่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9 คนผมเห็นด้วยกับข้อคิดข้อนี้ เพราะมากคนมากความครับ เพราะเวลาเรา Vote เสียงกรรมการแค่ 2 ใน 3 คนก็เพียงพอที่จะปรับเปลี่ยนอะไรได้แล้วในการทำธุรกิจ 


ข้อคิดที่ 7:  Peter Thiel  บอกว่า "เราต้องให้คำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมพนักงานคนที่ 20 ถึงต้องทำงานกับบริษัทสตาร์ทอัพเล็กๆ ของคุณข้อคิดนี้เป็นความท้ามทายของผู้ก่อตั้งเวลารับสมัครงานครับ เพราะถ้า Why ไม่ใหญ่พอ พนักงานก็จะรู้สึกไม่ท้าทายและเขาก็จะไปเลือกงานที่เงินเดือนมากกว่าในบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่าคุณซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป


ข้อคิดที่ 8:  Peter Thiel  บอกว่า "การขายมีความสำคัญพอๆ กับการพัฒนาผลิตภัณน์ผมว่าข้อคิดข้อนี้ หลายคนอาจลืมไปครับว่า ทุกธุรกิจต้องมีการขายทั้งสิ้น บางครั้งเหล่าสตาร์ทอัพจะเป็นนักพัฒนาผลิตภัณน์จนลืมไปว่า ทักษะการขายของทีมงานก็สำคัญไม่แพ้กัน เขาจึงอธิบายต่อไปว่า ให้เราเปลี่ยนมุมมองของนักขายไปเป็นนักเจรจาธุรกิจแทนซึ่งเป็นทักษะในการโน้มน้าวนักลงทุน,ลูกค้าหรือแม้กระทั่งพนักงาน


ข้อคิดที่ 9:  Peter Thiel  บอกว่า  ผู้ประกอบการจำนวนมากมักจะประเมินระดับการแข่งขันของคู่แข่งต่ำเกินจริงและคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าตลาด  การคิดแบบนี้เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุดของบริษัทที่ก่อตั้งใหม่  ผมสนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะความผิดพลาดของเหล่าสตาร์ทอัพหน้าใหม่ก็คือ "การที่บอกตัวเองว่า....เราไม่มีคู่แข่ง ทั้งๆ ที่ คู่แข่งมาจากทั้งทางตรงและทางอ้อมและคู่แข่งของสินค้าหรือบริการที่ทดแทนในอนาคต(คล้ายๆ กับเรื่อง Five Force Model ของ คุณ Michael E Porter จาก Harvard Business School )  ประเด็นคือ "เราได้ทำการบ้านของเรามาดีพอหรือยัง?"


ข้อคิดที่ 10:  Peter Thiel  บอกว่า  "ความปรองดอง คือ สิ่งที่ทำให้บริษัทตั้งใหม่อยู่รอดได้ข้อคิดนี้สนับสนุนแนวคิดของข้อที่ 5 ที่ว่า "การเลือกผู้ร่วมก่อตั้งและทีมงานเสมือนกับ การแต่งงาน" ผมว่ายุคนี้ประเมินคนยากครับอาจจะเข้าขั้นที่ว่า อาจต้องลองแต่งานกันดูก่อน ถ้าอาการไม่ดีค่อยมาปรับเปลี่ยนนิสัยส่วนตัวกัน ซึ่งอาจทำได้บ้างทำไมได้บ้างตั้งแต่อาการเล็กไปจนถึงอาการสาหัส ซึ่งบางครั้งเราก็อาจจำเป็นต้องให้ทีมงานหรือคนที่ไม่สามารถไปกับองค์กรเราได้ให้เขาออกไปเพื่อที่เราจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ไม่ใช่เพราะเขาอาจไม่เหมาะกับองค์กรเราแต่องค์กรเราอาจไม่เหมาะกับเขาก็เป็นไปได้ ดังนั้น ความปรองดองที่ยึดถือผลประโยชน์ขององค์กรเป็นหลัก จึงเป็นคำตอบของ ความอยู่รอดของธุรกิจที่ไม่ใช่ตัวบุคคล


    "เป็นอย่างไรบ้างครับกับ 10 ข้อคิดนี้ที่ผมได้สรุปคัดเลือกมาจาก หนังสือ ของคุณ Peter Thiel(ปีเตอร์ ธีล) นักลงทุนคนแรกของ Facebook แห่งซิลิคอนวัลเล่ย์(Silicon valley) ที่เขียนหนังสือเล่มดังระดับโลกเล่มนี้ที่ชื่อว่า "(ZERO to One)"   เพื่อนๆ ลอง Comment เข้ามาเพิ่มเติมได้น่ะครับ ว่าข้อคิดไหนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรเราจะได้มีไอเดียในการคิดต่อยอดกันต่อไปครับ^^"


       ปัจจุบันนี้หนังสือเล่มนี้ ผมยังเห็นวางขายอยู่ในร้าน Asia Book น่ะครับ ส่วน เวอร์ชั่นภาษาไทย เข้าใจว่าขาดตลาดไปหลายปีแล้ว ปัจจุบันหนังสือแปลเล่มนี้จะไม่มีวางขายในร้านหนังสือปกติแล้ว ยกเว้นตาม Website ขายของออนไลน์ ซึ่งก็ บวกราคาเพิ่มไปอย่างมากที่เดียว!

  

       ถ้าชอบเนื้อหาในบทความนี้ ก็ฝากกด Like กด Share และ Comment ให้ผมด้วยน่ะครับจะได้เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของทุกท่านหรือผู้ที่สนใจแนวคิดของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพต่อไป...


      เพื่อคนไทยจะได้เห็น Unicorn Startup ในเร็ววันนี้ครับ เราคนไทยต้องช่วยกันครับ


❤️ด้วยความปรารถนาดี❤️


โดย  อาจารย์อ๊ะ(AjarnAh) 

#อาจารย์อ๊ะสอนธุรกิจให้คิดแบบStartup 


-ช่อง Tiktok พิมพ์หา @ajarnah หรือกดลิงค์นี้ 👇

https://vt.tiktok.com/ZSJJV958c/


-แอดไลน์(Line) เพิ่อรับความรู้ธุรกิจฟรี! ได้ที่  @ajarnah หรือกดลิงค์นี้ 👇

https://line.me/R/ti/p/@ajarnah


-Apple Podcast พิมพ์หา @ajarnah  หรือกดลิงค์นี้ 👇

https://podcasts.apple.com/th/podcast/ajarnah-podcast/id1552437356

https://podcasts.apple.com/th/podcast/ajarnah-podcast/id1552437356



-Spotify พิมพ์หา @ajarnah  หรือกดลิงค์นี้ 👇

https://open.spotify.com/show/4yPggT01sGRdzPbNEP5lwZ...


-Google podcast พิมพ์หา @ajarnah 

หรือกดลิงค์นี้ 👇

https://podcasts.google.com?feed=aHR0cHM6Ly9hbmNob3IuZm0vcy8xNTlkN2UzOC9wb2RjYXN0L3Jzcw%3D%3D


-ช่องยูทูป พิมพ์หา @ajarnah  หรือกดลิงค์นี้ 👇

https://www.youtube.com/user/AH2519


และที่ Website:  www.ajarnah.com


#อาจารย์อ๊ะ 

#อาจารย์อ๊ะสอนธุรกิจให้คิดแบบStartup

#อาจารย์อ๊ะสอนทักษะของStartup

#อาจารย์อ๊ะที่ปรึกษาStartupสำหรับSME

#พัฒนาธุรกิจด้วยทักษะของStartup


#ThePrinceofStartup

#TheRightMindsetTheRightStartup

#สตาร์ทอัพต้องเริ่มต้นที่Mindsetที่ถูกต้องก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม โดย อาจารย์อ๊ะ-ที่ปรึกษา Startup สำหรับ SME

  ✅ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม 😊ธุรกิจขายตรง (Direct Selling) ยังคงเป็นหนึ่งในโมเดลธ...